อาการเครื่องกินกระแสผิดปกติ
ข้อสังเกตุ : อุปกรณ์หลักๆที่ได้รัับการจ่ายไฟจาก POWER SUPPLY ไม่ว่าจะเป็น PA หลอดไฟ LED กระดิ่ง มอเตอร์สั่นและ CCONT ต่อเชื่อมกันครบแต่เมื่อจ่ายไฟเข้าไปแล้ว ถ้าชุดจ่ายไฟตัดทันที กระแสลงที่ 0V แรงดันไฟลง 0Vทันทีแสดงว่าต้องมีการชอร์ตเกิดขึ้นแต่อุปกรณ์ตัวใหนชอร์ตต้องมาดและทำตามในลำดับต่อไปนี้
ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ : ให้ลองยก L513 ออกดูตามไดอะแกรมสังเกตว่าเมื่อยก L513 ออกจะเห็นว่ามีไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายจ่ายให้กับ PA อย่างเดียวซึ่งไฟเลี้ยง PA จะมี 2 เส้นคือไฟเลี้ยงวงจรขยายกำลังส่ง GSM และวงจรขยายกำลังส่ง PCN หรือระบบ 1800 เมื่อยก L513 ออกแล้วลองจ่ายไฟเข้าเครื่องู ถ้าเพาเวอร์ซัพพลายกระแสและแรงดันลงที่ 0 ทันที แสดงว่า PA เสียหรือชอร์ตก็ให้ยก PA ออกจากบอร์ดแล้วลองจ่ายไฟเข้าไปใหม่อีกครั้ง ถ้าชุดจ่ายไฟไม่ตัดก็สรุปว่า PA ที่เรายกเสียจริงๆ แต่ถ้ายก PA แล้วเพาเวอร์ซัพพลายไม่ตัดแต่มีการกินกระแสมากกว่าปกติ ก็ต้องเช็ค C หรือคอนเดนเซอร์ที่มีไฟ VBATT หรือไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายจ่ายผ่าน(ดูลายละเอียดในลายวงจรจริงหรือ Schmatics) ซึ่ง C เหล่านี้ทำหน้าที่กรองแรงดันไฟให้เรียบ อาจจะชอร์ต แต่ถ้าเช็ค C ทั้งหมดแล้วไม่ชอร์ตก็อาจจะเป็นเพราะลายวงจรระหว่างขั้วบวกและลบชอร์ตกันภายในเลเยอร์(เลเยอร์คือชั้นของแผงวงจรถ้ามองด้านตัดหรือด้านข้างจะมีชั้นของแผงวงจรวางซ้อนกันอยู่หลายชั้นซึ่งด้านในจะมีลายทองแดงเชื่อมโยงมากมายระหว่างด้านหน้าและด้านหลังบอร์ด)และถ้าพบอาการแบบนี้ค่อนข้างจะซ่อมยากเพราะชอร์ตกันในเลเยอร์แต่ถ้ายกแล้วไม่ชอร์ตกระแสปกติให้ทำขั้นตอนต่อไปนี้
ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ : ให้วาง L513 กลับไปเหมือนเดิมแล้วยก L201 ขึ้น ใช้เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟเข้าเครื่องอีกครั้งสังเกตการกินกระแสของชุดจ่ายไฟ ถ้ากระแสปกติก็สรุปว่า PA ซึ่งก่อนหน้านี้ทดสอบไปได้แล้วปกติและมีอีกตัวหนึ่งคือ ไอซีชาร์จหรือ CHAPS (ดูตามลูกศรสีเหลืองชี้) ก็ปกติเพราะในรูปจะมีอุปกรณ์ที่มีผลกับ แบตเตอรี่หรือเพาเวอร์ซัพพลายคือ PA และไอซีชาร์จเท่านั้น แต่ถ้าจ่ายไฟแล้วมีการกินกระแสที่ผิดปกติก็ให้วิเคราะห์ตามนี้ ว่าก่อนหน้านี้เราได้ทดสอบ PA แล้วและ PA ก็ปกติก็แสดงว่าไอซีชาร์จมีปัญหาเพียงตัวเดียวก็ต้องลองยกไอซีชาร์จดู แต่ก็ต้องเช็คอุปกรณ์รอบข้างของ ไอซีชาร์จด้วยไม่ว่าจะเป็นตัวต้านทานหรือ คอนเดนเซอร์ แต่ถ้ายก L201 แล้วกระแสปกติให้ดูขั้นตอนต่อไป
ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ : วาง L201 กลับไปตามเดิมแล้วลองวิเคราะห์อาการทั้งหมดดูตามไดอะแกรม (จุดที่ 4) จะสังเกตว่าไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายจ่ายผ่าน L513 และ L201 จ่ายให้กับหลอดไฟ LED กระดิ่ง มอเตอร์สั่นสะเทือน UI SWITCH และที่สำคัญที่สุดคือ CCONT สำหรับกระดิ่งและมอเตอร์สั่นตัดประเด็นไปได้เพราะเวลาถอดแผงวงจรออกมาซ่อมอุปกรณ์ 2 ตัวนี้จะอยู่ด้านนอกของแผงวงจรหรือกรอบหลัง ก็จะมีอุปกรณ์ที่ติดอยู่บนแผงวงจรหลักที่เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟให้โดยตรง (ไฟ VB) ก็คือหลอดไฟ LED UI SWITCH และ CCONT ดังนั้นแนวทางการวิเคราะห์เพื่อให้ประหยัดและถูกต้อง ก็คงต้องวัดหลอดไฟ LED ก่อนโดยใช้มิเตอร์เข็มวัดที่ขั้ว บวกและลบของหลอดไฟถ้าหลอดไฟไม่ชอร์ตจะต้องติดทุกดวง หลอดไฟจะมี 2ชุดแยกกันทำงานอิสระคือไฟที่ให้แสงสว่างแก่จอ และ ไฟที่ให้แสงสว่างแก่ปุ่มกด ถ้าเช็คแล้วปกติก็จะมีอุปกรณ์หลักแค่ 2 ตัวเท่านั้นคือ UI SWITCH และ CCONT ก็ลองมาวิเคราะห์ดูกันทีละตัว โดยปกติ UI SWITCH มักจะชอร์ตโดยหลอดไฟติดขึ้นมาเอง หรือ กระดิ่งดังขึ้นมาเอง หรือมอเตอร์สั่นขึ้นมาเอง ส่วน CCONT จะชอร์ตในส่วนของการเปิดเครื่องหรือไฟที่ออกจาก CCONT ไปเลี้ยงภาคต่างๆ ถ้าจะให้สรุปง่ายที่สุดก็ต้องยกตัวที่ยกและวางง่ายที่สุด คือ UI SWITCH เพราะว่าถ้า UI SWITCH เสียเมื่อยกแล้วอุปกรณ์ตัวอื่นที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดไม่ชอร์ต เครื่องจะต้องเปิดติด เพียงแต่ไฟ LED ไม่ติดและมอเตอร์กับกระดิ่งไม่ทำงานนอกนั้นทุกส่วนก็ยังทำงานปกติ แต่ถ้ายก CCONT ก่อนถ้า UI SWITCH ชอร์ตหรือเสียก็ต้องยก UI SWITCH อีกครั้งอยู่ดี ลองวิเคราะห์อาการดู !
หมายเหตุ : ถ้าเช็คในส่วนของการกินกระแสเมื่อ CCONT จ่ายไฟออกไปแล้วให้เช็คที่ Trouble Shooting |