โครงสร้างโทรศัพท์ 3310,3315,3330,3350โทรศัพท์ NOKIA ประกอบด้วย 2 ภาคดังนี้ 1. ภาคโครงสร้างหลัก BASE BAND 2. ภาควิทยุ RF RADIO FREQUENCY
1. ภาคโครงสร้างหลัก BASEBANDประกอบด้วย1.1 UI หรือ USER INTERFACE
1.2 แฟลชคอนเนคเตอร์ FLASH CONNECTOR
1.3 HEAD SET และ CHARGER CONNECTOR
1.4 แบตเตอรี่ BATTERY
1.5 CHAPS
1.6 SIM CARD
1.7 COBBA
1.8 32.768 KHz (SLEEP CLOCK)
1.9 CCONT
1.10 ไมโครโฟน MICROPHONE
1.11 หูฟังหรือลำโพง EARPIECE , SPEAKER
1.12 ปุ่มกด KEY PAD
ตัวอย่าง สมมติว่า กดปุ่ม 1 ก็จะเกิดสัญญาณที่มอดูเลทระหว่างความถี่ 697 Hz กับ 1,209 Hz เป็นต้น และเมื่อความถี่ 2 ความถี่ มอดูเลทกันแล้วก็จะส่งความถี่ไปยัง CPU เพื่อให้ CPU ประมวลผลการกดปุ่มไปแสดงยังที่หน้าจอ LCD และอีกส่วนหนึ่ง จะประมวลผลการกดปุ่มทั้งหมดแปลงเป็นสัญญาณ IQ ไป มอดูเลท หรือ ผสมสัญญาณกับภาคส่ง (TX) ส่งสัญญาณเรียกไปยังเครือข่ายหรือ NETWORK ซึ่งเป็นจุดแรกที่โทรศัพท์ส่งสัญญาณถึงก็คือ BTS หรือ BASE TRANCIEVER STATION หรือเรียกอีกชื่อว่า CELL SITE
1.13 จอ LCD
2. ภาควิทยุ RF RADIO FREQUENCYประกอบด้วยอุปกรณ์หลักดังนี้
เนื่องจากโทรศัพท์มีการรับส่งสัญญาณในระดับความถี่และช่องสัญญาณที่ต่างกัน ดังนั้นการเข้าช่องสัญญาณหรือกำหนดช่องสัญญาณต้องแม่นยำ จึงจำเป็นต้องใช้ CPU เข้ามากำหนดช่องสัญญาณในภาค BUS CONTROL และที่สำคัญมากก็คือความถี่อ้างอิง 26 MHz ต้องมีความเที่ยงตรงมากด้วยเช่นกันใน IC HAGAR วงจร เฟส ล็อก ลูป (PLL) เป็นแบบปรีสเกลเลอร์ 2 DIVIDER หรือ 2 โมดูลัส ระหว่าง P กับ P+1 ซึ่งวงจรนั้นหารจะถูกควบคุมการหารโดย CPU ปรีสเกลเลอร์ตัวนี้สามารถหารด้วยตัวเลข 2 ตัว ซึ่งต่างกันอยู่ 1 เช่นหาร 10 หรือ 11 เรียกว่า 10/11 แต่สำหรับ HAGAR ใช้ 64/65 สังเกตว่าตัวหารทั้งคู่ต่างกันอยู่1เอาต์พุทของปรีสเกลเลอร์จะป้อนไปให้แก่วงจรนับหรือวงจรเคาน์เตอร์บางครั้งก็เรียกว่าวงจรหารตัวหนึ่งเป็นเคาน์เตอร์หลัก (MAIN COUNTER) ต่อย่อคือ M ส่วนอีกตัวเป็นเคาน์เตอร์เสริม (AUXILARY COUNTER) ตัวย่อคือ A ตัวเคาน์เตอร์เสริมจะเป็นตัวบังคับให้ ปรีสเกลเลอร์หารด้วยตัวหาร (DIVIDER) คือ 64 หรือ 65 เช่นสมมติว่า CPU ป้อนข้อมูล ( ความถี่ ) หรือปรีสเกลเลอร์ใช้ 65 เป็นตัวหาร เมื่อเคาน์เตอร์เสริมหยุดนับ จึงจะส่งคำสั่งไปบังคับให้ปรีสเกลเลอร์เปลี่ยนเป็นหารด้วย 64 ตัวเคาน์เตอร์หลัก (A) ก็เช่นเดียวกันจะค่อยๆ นับถอยหลังไปเรื่อยๆ จนเป็น 0 เมื่อเคาน์เตอร์หลักและเสริม (M) และ (A) นับถึงศูนย์เมื่อใดทั้งคู่จะถูก CPU เซตตัวเลขข้อมูล ( ความถี่ ) เนื่องจาก เคาน์เตอร์เสริมจะต้องนับถึง 0 ก่อน ดังนั้นตัวเลขที่ CPU เซตให้เคาน์เตอร์เสริม (A) จะต้องน้อยกว่าตัวเลขที่ CPU เซตให้เคาน์เตอร์หลัก (M)ตัวเลขที่เซตให้แก่เคาน์เตอร์หลัก (M) และเคาน์เตอร์เสริม (A) เริ่มแรกนั้นให้ปรีสเกลเลอร์อยู่ในภาวะหาร 65 ไปจนกว่าเคาน์เตอร์เสริม (A) จะนับลงเป็น 0 นั่นคือเวลาที่ใช้ในการนับเคาน์เตอร์เสริม ที่เป็น 0 โดยคิดจากจำนวนรอบหรือไซเคิลของ VCO ที่ผ่านไปเท่ากับจำนวน 65 คูณด้วย A ไซเคิลหลังจากนั้นปรีสเกลเลอร์จะถูกบังคับให้เปลี่ยนตัวหารเป็น 64 โดยเคาน์เตอร์เสริม (A) และในขณะที่เคาน์เตอร์หลักนับผ่านเคาน์เตอร์เสริม (A) ไปแล้ว พร้อมกันกับเคาน์เตอร์เสริม เช่นกัน ยังเหลืออยู่อีก (M-A) ไซเคิลก่อนที่นับเป็นศูนย์นั่นคือจะต้องใช้เวลาในการนับเคาน์เตอร์หลัก (M) ให้เป็นศูนย์ต่อไปอีกคิดเป็นจำนวนไซเคิล หรือจำนวนรอบของ VCO ที่ผ่านไปเท่ากับ 64 คูณด้วย (M-A) ฉะนั้นรอบเวลาที่ใช้จึงจำเป็นผลรอบของเวลาทั้ง 2 ข้างต้น คือ VCO ไซเคิล = 65A + 64(M-A) = 64 M+A ความถี่ของ VCO จะเท่ากับ (64M+A) เท่าความถี่อ้างอิงหรือ Fsynth = Fref(64M+A) สมการที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นใช้กับ ปรีสเกลเลอร์ 64/65 ซึ่งเป็นชนิด 2 โมดูลัสหรือ DUAL MODULUS DIVIDER และความถี่ที่ได้จะเข้าไปวงจรเปรียบเทียบ หรือ PHASE DETECT ซึ่งต่อเชื่อมกับวงจรชาร์จปั๊ม CHAGE PUMP ซึ่งจะทำการเก็บและคายประจุแรงดันไฟในวงจรลูปฟิลเตอร์ (LOOP FILTER) แล้วจ่ายให้กับ VCO หลังจากนั้น VCO ก็จะผลิตความถี่ 3420-3840 MHz จ่ายผ่านบาลันเข้าไปยังวงจรหาร 2 หรือหาร 4 เพื่อถอดสัญญาณวิทยุ ในภาครับและผสมสัญญาณวิทยุในภาคส่งต่อไป ซึ่งวงจรทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะทำงานได้ก็ต้องมีแรงไฟมาเลี้ยงวงจร และไฟเลี้ยงวงจรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นวงจร ปรีสเกลเลอร์ 64/65 วงจรเปรียบเทียบเฟส วงจรเคาน์เตอร์หรือวงจรนับวงจรหาร 2 และ 4 วงจร ชาร์จปั๊มและ VCO มาจาก CCONT ทั้งหมดและคำสั่งที่กำหนดข้อมูล ( ความถี่ ) ให้กับวงจรเคาน์เตอร์หรือวงจรหาร มาจาก CPU ผ่าน BUS CONTROL ประกอบด้วย DATA CLOCK ENABLE และ RESET
2.2 VCO (VOLTAGE CONTROL OSCILLATOR) วงจรแรงดันไฟควบคุมการผลิตความถี่หรือความหมายอีกนัยหนึ่งว่าความถี่ที่เกิดจากการจ่ายแรงดันไฟซึ่งแรงดันไฟเปลี่ยนแปลงไปความถี่ก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน เราเรียกว่าเรโซลูชั่น (RESOLUTION) ซึ่งแรงดันไฟที่ผลิตความถี่มาจากวงจร เฟส ล็อก ลูป หรือ PLL ผ่านวงจรชาร์จปั๊มใน HAGAR จ่ายผ่านวงจร LOOP FILTER แล้วจ่ายให้แก่ VCO และ VCO จะผลิตความถี่ที่สูงมากคือ SHF หรือ SUPER HIGH FREQUENCY ความถี่ที่ผลิตออกมาจาก VCO จะได้ความถี่อยู่ในช่วง 3420 MHz ถึง 3840 MHz ส่งเข้าไปใน HAGAR เพื่อหาร 2 สำหรับระบบ 1800 และหาร 4 สำหรับระบบ GSM เพื่อถอดสัญญาณวิทยุ ในภาครับหรือ ดีมอด (DEMODULATOR) และผสมสัญญาณวิทยุใน ภาคส่งหรือมอด (MODULATOR) ต่อไป
ย่อมาจาก (VOLTAGE CONTROLLED TEMPERATURE COMPENSATED CRYSTAL OSILLATOR) ทำหน้าที่ 2 หน้าที่
2.4 สวิทซ์แอนเทนน่า SWITCH ANTENNA หรือ DIPLEXER ทำหน้าที่แยกสัญญาณระหว่างระบบ GSM และระบบ PCN,DCS หรือระบบ 1800 และแยกสัญญาณจากภาครับ RX และ ภาคส่ง TX ออกจากกัน สำหรับภาคส่งมีไฟเลี้ยง สวิทซ์แอนเทนน่า จาก HAGAR ด้วย คือ TX VGSM และ TX VPCN,DCS
2.5 ฟิลเตอร์ หรือ แบนด์พาสฟิลเตอร์ หรือ SAW ฟิลเตอร์ SAW หรือ SURFACE ACOUSTIC WAVE เป็นฟิลเตอร์ที่มี 2 ระบบ อยู่ในตัวเดียวกันหรือเรียกอีกชื่อว่า DUAL SAW FILTER ทำหน้าที่กรองสัญญาณและกำหนดความถี่ให้ตรงตามกำหนด ในระบบ GSM จะกำหนดความถี่ 925-960 MHz ส่วนระบบ 1800 จะกำหนดความถี่ 1805-1880 MHz ในภาครับจะมีอยู่ 2 ตัว ส่วนในภาคส่งจะมีเฉพาะระบบ GSM เท่านั้นเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีไฟเลี้ยง
2.6 LNA หรือ LOW NOISE AMPLIFIER เป็นวงจรขยายสัญญาณรบกวนต่ำ ซึ่งเป็นทรานซิสเตอร์ เนื่องจากโทรศัพท์มือถือรับสัญญาณจากเสาส่ง หรือ (CELL) ไม่เท่ากันเพราะบางเครื่องอยู่ใกล้เสาบางเครื่องอยู่ไกลเสาเครื่องที่อยู่ใกล้เสาก็จะรับสัญญาณได้ดีกว่าเครื่องที่อยู่ไกลเสาส่ง ดังนั้นเพื่อการรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องปรับระดับการรับสัญญาณให้ใกล้เคียงกัน โดยมีวงจรควบคุมการรับสัญญาณเรียกว่า RFC หรือ RX FITER CALIBRATION ซึ่งจะไปควบคุมการจ่ายแรงดันไฟให้กับ LNA ในสภาวะที่เหมาะสม เช่น ถ้าเครื่องอยู่ไกลเสามากก็จะเพิ่มแรงดันไฟให้มากขึ้น เพื่อให้ LNA รับสัญญาณได้ดีขึ้น ในทางกลับกันถ้าเครื่องอยู่ใกล้เสา ก็ลดแรงดันไฟไปเลี้ยง LNA ให้น้อยลง เพื่อให้รับสัญญาณได้พอดี ไฟที่เลี้ยงวงจร LNA เราเรียกอีกชื่อว่า AGC หรือ AUTO GAIN CONTROL เป็นไฟมาจากภาค RX CONTROL ใน HAGAR ซึ่งถูกควบคุมโดย RXC จาก COBBA
คือหม้อแปลงเกี่ยวกับความถี่ ที่ทำหน้าที่กำหนดความสมดุลของสัญญาณให้เป็นบวกและลบ เพื่อให้มีความเหมาะสมทั้งสัญญาณทางด้านเข้าและออก สำหรับภาครับ สัญญาณจะเข้ามา 1 เส้น และออก 2 เส้น คือ บวกและลบสำหรับภาคส่ง สัญญาณจะเข้ามา 2 เส้น และออก 1 เส้น และมีไฟจาก CCONT มาเลี้ยงบาลันด้วยคือ ไฟ VTX หรือ VMOD
IC ย่อมาจาก Integrated Circuit หมายถึง วงจรรวม โดยการนำเอา ไดโอด , ทรานซิสเตอร์ ,ตัวต้านทาน , ตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิพ (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดมากๆ สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ความหนาแน่นขององค์ประกอบวงจร ที่บรรจุลงใน IC นี้ มีตั้งแต่หลายสิบตัวซึ่งเรียกว่า SSI (Small Scale Integrated) จนกระทั่งถึงหลายสิบล้านตัว ซึ่งเรียกว่า ULSI (Ultra Large Scale Integrated) ข้อดีของ IC คือ ไอซีจะรวมวงจรที่ซับซ้อนเข้ามาเป็นวงจรเดียวกัน ทำให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งจะทำให้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์มีขนาดเล็กและเบาลงมาก วงจรในเครื่องจะถูกแบ่งเป็นบล็อกที่มีหน้าที่หลักเฉพาะ วงจรในแต่ละบล็อกจะถูกทำเป็น IC ทำให้การประกอบวงจรทั้งหมดทำได้ง่าย โดยเพียงต่อ บล็อกหรือ IC เหล่านี้เข้าด้วยกันเท่านั้น จึงทำให้การต่อสายน้อยลง จุดบัดกรีน้อยลง และจุดเสียที่จะเกิดก็น้อยลงด้วย การผลิต IC ชนิด Monolithic ซึ่งสร้างองค์ประกอบวงจรทั้งหมดลงบนแผ่นผลึกแผ่นเดียว ก็สามารถทำได้พร้อมกันหลายร้อยหลายพันตัวบนแผ่นผลึก เวเฟอร์ (Wafer) แผ่นเดียว โดยการสร้างแบบ IC ที่เหมือน ๆ กันลงบนแผ่นเวเฟอร์ทีเดียว แล้วจึงตัดแบ่งเป็น IC แต่ละตัวในภายหลัง ทำให้สามารถ ผลิต IC ได้เป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกันและราคาของ IC ก็จะถูกลงมาก IC อาจจะยังไม่สามารถรวมเอาองค์ประกอบวงจร ทุกชนิดเข้ามาในตัวมัน ได้หมด วงจรที่มีองค์ประกอบของวงจรขนาดใหญ่ เช่น คอยล์ หรือ ทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ที่ใช้ในการขับกระแสขนาดใหญ่ก็ยังต้องนำมาต่อที่ด้านนอก ของ IC อีกครั้งเพื่อให้วงจรทั้งหมดทำงานได้อย่างถูกต้อง IC แต่ละตัวจะมีพื้นที่ในการสร้างวงจรประมาณ 20-200 ตารางมิลลิเมตร บน IC นี้จะรวมเอา ไดโอด , ทรานซิสเตอร์ , ตัวต้านทาน , ตัวเก็บประจุ บีบ รวม กันบนพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ จำนวนองค์ประกอบของวงจรจะเพิ่มขึ้นตามการพัฒนาของเทคโนโลยี ถ้าจำนวนของวงจรมีจำนวนตั้งแต่ 1,000 ถึง 100,000 ตัว ก็เป็น LSI ถ้าจำนวนตั้งแต่ 100,000 ถึง 10,000,000 ตัวก็เป็น VLSI ซึ่งเป็นได้แก่หน่วยความจำที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ถ้าจำนวนมากกว่า 10 ล้านตัวก็เป็น ULSI IC หน่วยความจำชนิด D-RAM ขนาด 16 M bit จะมีจำนวนองค์ประกอบของวงจรประมาณ 3.5 ล้านตัว และชนิด D-RAM ขนาด 64 M bit ซึ่งมีความ หนาแน่นที่สุดในปัจจุบัน จะมีจำนวนองค์ประกอบประมาณ 140 ล้านตัว สำหรับโทรศัพท์มือถือ IC ที่ประกอบในโทรศัพท์มือถือเราเรียกว่า BGA/CSP หรือ BGA Ball Grid Array/Chip Scale Packaging (BGA/CSP) หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า IC บอล เวลาทำขาใหม่เราจะเรียกกันว่า การบอลขา ซึ่งลักษณะของ IC จะมีขาอยู่ด้านล่างของตัว IC มีลักษณะของขาคล้ายลูกฟุตบอลครึ่งลูกเวลาถอดออกจากแผงวงจรต้องใช้ลมร้อนเป่าออกไม่สามารถใช้หัวแร้งถอดออกได้เพราะขา IC จะอยู่ด้านล่าง แฟลช FLASHโทรศัพท์มือถือจะมีหน่วยความจำอยู่ในเครื่องทุกเครื่อง ตัวอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำ ที่บรรจุข้อมูลเอาไว้นั้น เราเรียกว่า " ไอซี แฟลช " การที่นำเอาอุปกรณ์ประเภท " แฟลช " มาใช้นั้นเนื่องจากว่าอุปกรณ์ประเภท Micro Processor IC ถูกออกแบบให้มีความสามารถสูงมากขึ้น และมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น จึงต้องการเวลาในการเข้าถึงข้อมูลที่ต่ำ ( Access Time) คือใช้เวลาในการเข้าหาข้อมูลที่รวดเร็ว ซึ่งในโทรศัพท์มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำงานที่รวดเร็ว จึงจำเป็นต้องนำ " แฟลช " มาใช้ในการเก็บข้อมูลมากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ FLASH1. เป็น ไอซี ความจำประเภทหนึ่ง ( IC Memory) 2. ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าไว้ในตัวมันเองได้ 3. เป็นลูกผสมระหว่าง EEPROM กับ Nonvolatile 3.1 EEPROM ( Electrically Erasable Programable Read Only Memory )
3.2 Nonvolatile
4. เป็น IC ที่มีความจำคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะมีการเขียนข้อมูลใหม่เข้าไป 5. การลบและเขียนข้อมูลใหม่จะต้องเป็นไปตามกำหนดในรูปแบบของ อัลกอริทึ่ม Algolithm 6. สามารถลบและเขียนข้อมูลได้เป็นบล๊อกบางส่วนหรือทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการจัดการของผู้ใช้งาน 7. เป็นหน่วยความจำที่มีค่าเวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time) น้อยมาก ทำให้นำไปใช้งานได้ความเร็วที่สูง 8. ไม่จำเป็นต้องมีการ Refresh 9. ค่าความจุของ แฟลช จะมีค่าเริ่มต้นที่ 32 - 256 KB 10. หมายเลขชื่อเบอร์จะขึ้นต้นด้วย 28F หน้าแรก | สินค้า | ความรู้ | เรียนซ่อมมือถือ | ไดอะแกรม | ดาวน์โหลด | ถามตอบ
Phoenix Training Mobile © Copyright 2005 Web Master : wintesla2003@yahoo.com
|