อีเลคทรอนิคส์เบื้องต้น
ไฟฟ้าคืออะไร
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์สำนักงาน ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ล้วนแต่ต้องอาศัยพลังงานจากไฟฟ้าทั้งสิ้น ดังนั้น เราควรมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับไฟฟ้าให้มากยิ่งขึ้นคำถามแรกที่ต้องค้นหาคำตอบก็คือ " ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร"
วัตถุ ประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก แล้ว " อะตอมคืออะไร " คำถามนี้ต้องเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นจะขออธิบายสั้นๆ ว่าอะตอมเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งในร้อยล้านเซนติเมตร อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสและอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียส จำนวนอิเล็กตรอนของอะตอมแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน จึงทำให้คุณสมบัติของอะตอมนั้นๆ แตกต่างกันไปด้วย ภายในนิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน จำนวนโปรตอนจะเท่ากับจำนวนของอิเล็กตรอน ทั้งอิเล็กตรอนและโปรตอนเป็นอนุภาคที่มีไฟฟ้า อิเล็กตรอนมีไฟฟ้าลบและปริมาณไฟฟ้าลบของอิเล็กตรอนของอะตอมใดๆ จะมีขนาดเท่ากันหมด ส่วนโปรตอนมีไฟฟ้าบวกและปริมาณไฟฟ้าบวกของโปรตอน 1 ตัวจะเท่ากับปริมาณไฟฟ้าลบของอิเล็กตรอน 1 ตัว อิเล็กตรอนหมุนรอบนิวเคลียสของอะตอมด้วยวงจรที่แน่นอน เป็นเพราะมีแรงดึงดูดระหว่างไฟฟ้าบวกของโปรตอนและไฟฟ้าลบของอิเล็กตรอน ด้วยแรงดึงดูดนี้เองที่ทำให้อิเล็กตรอนติดอยู่กับอะตอม อิเล็กตรอนจึงหลุดไปจากอะตอมไม่ได้ แต่อิเล็กตรอนตัวที่อยู่วงโคจรนอกสุดซึ่งห่างจากนิวเคลียสมากมีแรงดึงดูดน้อย เมื่อมีอิทธิพลจากภายนอกเข้ามารบกวน อิเล็กตรอนจึงหลุดพ้นจากวงโคจรนั้นได้ และสามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระระหว่างอะตอมได้ ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ทางไฟฟ้า วัตถุใดที่มีอิเล็กตรอนอิสระจำนวนมาก จะมีคุณสมบัติเป็น ตัวนำไฟฟ้า แต่ถ้ามีจำนวนน้อยจะมีคุณสมบัติเป็น ฉนวนไฟฟ้า วัตถุทุกชนิดประกอบด้วยอะตอมที่มีไฟฟ้า ดังนั้น วัตถุทุกชนิดควรมีไฟฟ้าด้วย ภายในอะตอมของวัตถุนั้นมีปริมาณไฟฟ้าบวกและลบเท่ากัน แรงกระทำจากไฟฟ้าบวกและไฟฟ้าลบจึงหักล้างกันพอดี สภาพเช่นนี้เรียกว่า สภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า ( ทั้งไฟฟ้าบวกและไฟฟ้าลบยังคงมีอยู่ในจำนวนที่เท่ากัน )
เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าวัตถุมีไฟฟ้า คือ การเกิดไฟฟ้าสถิตย์ เช่น เมื่อเรานำวัตถุสองชนิดมาถูกัน จะเกิดไฟฟ้าสถิตย์ขึ้น อธิบายได้ว่า อิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ภายในวัตถุชนิดหนึ่งเคลื่อนไหวรุนแรงมากขึ้นจนสามารถหลุดพ้นจากแรงยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสของอะตอมและกระโดดไปอยู่ในวัตถุอีกชนิดหนึ่ง อิเล็กตรอนในวัตถุชนิดแรกมีจำนวนลดลง จึงแสดงความเป็นไฟฟ้าบวกออกมา ในขณะเดียวกันวัตถุที่ได้รับอิเล็กตรอนอิสระจะทำให้มีไฟฟ้าลบมากกว่า จึงแสดงความเป็นไฟฟ้าลบออกมา
โดยทั่วไป การที่วัตถุเกิดไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า วัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้า ประจุไฟฟ้ามีทั้งประจุบวกและประจุลบ ประจุไฟฟ้าแสดงถึงปริมาณไฟฟ้า มีหน่วยเป็น คูลอมบ์ (Coulomb)
|
กระแสไฟฟ้า , แรงดันไฟฟ้า และความต้านทาน กระแสไฟฟ้าคืออะไร
เมื่อได้ทราบไปแล้วว่า ไฟฟ้าเกิดขึ้น ไ ด้อย่างไร เรามาพิจารณากันต่อไปว่า " กระแสไฟฟ้าคืออะไร " จากปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะพบว่ามีสาเหตุมาจากการไหลของไฟฟ้า ไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ได้จะมีคุณสมบัติตรงข้ามกับไฟฟ้าสถิตย์ เรียกว่า ไฟฟ้าเคลื่อนไหว สายไฟทั่วไปทำด้วยลวดตัวนำ คือ โลหะทองแดงและอะลูมิเนียม อะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนอิสระ ไม่ยึดแน่นกับอะตอม จึงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ถ้ามีประจุลบเพิ่มขึ้นในสายไฟ อิเล็กตรอนอิสระ 1 ตัวจะถูกดึงเข้าหาประจุไฟฟ้าบวก แล้วรวมตัวกับประจุไฟฟ้าบวกเพื่อเป็นกลาง ดังนั้น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ เมื่อเกิดสภาพขาดอิเล็กตรอนจึงจ่ายประจุไฟฟ้าลบออกไปแทนที่ ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟจนกว่าประจุไฟฟ้าบวกจะถูกทำให้เป็นกลางหมด การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้า (Electric Current)
กระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนกับโปรตอน โดยจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าที่มีประจุตรงข้าม
สำหรับในตัวนำที่เป็นของแข็ง กระแสไฟฟ้าเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะไหลจากขั้วลบไปหาขั้วบวกเสมอ ในตัวนำที่เป็นของเหลวและก๊าซ ถ้าจะเรียกว่า กระแสไฟฟ้าคือการไหลของอิเล็กตรอนก็ได้ แต่ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามกับการไหลของอิเล็กตรอน ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟฟ้านั้น กำหนดได้จากปริมาณของประจุไฟฟ้าที่ไหลผ่านจุดใดๆ ในเส้นลวดใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Ampere ซึ่งแทนด้วย A) กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า 2 ตัวที่วางขนานกันโดยมีระยะห่าง 1 เมตร แล้วทำให้เกิดแรงในแต่ละตัวนำเท่ากับ 2 x 10 -7 นิวตันต่อเมตร หรือเท่ากับประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ ซึ่งเทียบได้กับอิเล็กตรอน 6.24 x 10 18 ตัววิ่งผ่านใน 1 วินาที แรงดันไฟฟ้าคืออะไร
กระแสไฟฟ้าเกิดจากการที่มีอิเล็กตรอนไหลในสายไฟ ซึ่งการที่อิเล็กตรอนไหลหรือเคลื่อนที่ได้นั้นจะต้องมีแรงมากระทำต่ออิเล็กตรอนทำให้เกิดกระแสไหล แรงดังกล่าวนี้เรียกว่า แรงดันไฟฟ้า (Voltage)
ศักย์ไฟฟ้า เป็นอีกคำหนึ่งที่คล้ายกับแรงดันไฟฟ้า จะหมายถึง ระดับไฟฟ้า เช่น ลูกกลมที่ 1 มีประจุไฟฟ้าบวกจะมีศักย์ไฟฟ้าสูง ส่วนลูกกลมที่ 2 มีประจุไฟฟ้าลบจะมีศักย์ไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น ลูกกลมที่ 1 และ 2 จึงมีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้า เรียกว่า ความต่างศักย์ไฟฟ้า
แรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า หมายถึง แรงที่สร้างให้เกิดแรงดันไฟฟ้าซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าจึงไหลตลอดเวลา แรงเคลื่อนไฟฟ้านี้อาจเกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า , แบตเตอรี่ , ถ่านไฟฉาย และเซลล์เชื้อเพลิง ฯลฯ
หน่วยของแรงดันไฟฟ้า , ความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือแรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า มีหน่วยเดียวกัน คือ โวลต์ (Voltage ซึ่งแทนด้วย V) แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ คือ แรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ไหลผ่านเข้าไปในความต้านทาน 1 โอห์ม ความต้านทานไฟฟ้าคืออะไร
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลย่อมหมายถึงมีการเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอนในสายไฟ และอิเล็กตรอนจะวิ่งชนกับอะตอมของเส้นลวด เกิดการต้านทานการไหลของอิเล็กตรอนขึ้น กระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟมีคุณสมบัติการไหลต่างกันเพราะมี ความต้านทานไฟฟ้า (Resistance) ความต้านทานไฟฟ้าเป็นสมบัติเฉพาะของวัตถุในการที่จะขวางหรือต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าที่จะไหลผ่านวัตถุนั้นๆ ไป
หน่วยของความต้านทานไฟฟ้าเป็น โอห์ม (Ohm แทนด้วยสัญลักษณ์ ? )
ความต้านทาน 1 โอห์ม คือ ความต้านทานของเส้นลวดที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ 1 แอมแปร์ เมื่อใช้แรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์
วัตถุแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้แตกต่างกัน วัตถุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า (Conductor) เช่น ทองแดง , เงิน , อะลูมิเนียม , สารละลายของกรดเกลือ , กรดกำมะถัน และน้ำเกลือ ฯลฯ สำหรับวัตถุที่ไม่ยอมให้กระแสไหลผ่านได้หรือไหลผ่านได้ยาก เรียกว่า ฉนวนไฟฟ้า (Insulator) เช่น พลาสติก , ยาง , แก้ว และกระดาษแห้ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีวัตถุอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติระหว่างตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า เรียกว่า สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) เป็นวัตถุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้และสามารถควบคุมการไหลผ่านได้ เช่น คาร์บอน , ซิลิคอน และเยอรมันเนียม ฯลฯ ความต้านทานของตัวนำไฟฟ้าขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ คือ ชนิดของวัตถุ วัตถุที่ต่างชนิดกันจะมีความต้านทานต่างกัน อุณหภูมิของวัตถุ เมื่ออุณหภูมิของตัวนำไฟฟ้าหนึ่งๆ เปลี่ยนไป จะมีผลให้ความต้านทานของตัวนำนั้นเปลี่ยนตามไปด้วย
การวัดกระแสไฟฟ้า , แรงดันไฟฟ้า และความต้านทาน วิธีวัดค่ากระแสไฟฟ้า
เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดกระแสไฟฟ้าเรียกว่า แอมมิเตอร์ (Ampere meter)
ตัวอย่างการวัด ทำการต่อหลอดไฟฟ้าขนาดเล็กเข้ากับแบตเตอรี่ และวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านหลอดไฟฟ้า โดยนำปลาย + ของแอมมิเตอร์ผ่านหลอดไฟฟ้าต่อกับขั้ว + ของแบตเตอรี่ และนำปลาย - ของแอมมิเตอร์ต่อกับขั้ว - ของแบตเตอรี่ ดังรูป
ข้อควรระวังในการวัดกระแสไฟฟ้า ดังนี้ แอมมิเตอร์แต่ละเครื่องมีการกำหนดขีดจำกัดในการวัดกระแสไว้ ดังนั้น ในการวัดแต่ละครั้งควรประมาณปริมาณกระแสที่จะวัดก่อน เพื่อเลือกใช้แอมมิเตอร์ที่มีขีดจำกัดที่เหมาะสม อย่าต่อปลาย + และ - ของแอมมิเตอร์ผิดพลาด เพราะจะทำให้เข็มของเครื่องวัดตีกลับ ห้ามต่อปลายทั้งสองของแอมมิเตอร์กับขั้วทั้งสองของแบตเตอรี่โดยตรง เพราะเข็มของเครื่องวัดจะตีจนสุดสเกล อาจทำให้พังได้ วิธีวัดค่าแรงดันไฟฟ้า
เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดแรงดันไฟฟ้าเรียกว่า โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)
ตัวอย่างการวัด ทำการต่อหลอดไฟฟ้าขนาดเล็กเข้ากับแบตเตอรี่ และวัดแรงดันไฟฟ้าคร่อมหลอดไฟฟ้า โดยต่อโวลต์มิเตอร์ขนานกับหลอดไฟฟ้า ปลาย + ของโวลต์มิเตอร์ ต่อกับขั้ว + ของแบตเตอรี่ และปลาย - ของโวลต์มิเตอร์ต่อกับขั้ว - ของแบตเตอรี่ ดังรูป
ข้อควรระวังในการวัดแรงดันไฟฟ้า คือ โวลต์มิเตอร์แต่ละเครื่องมีการกำหนดขีดจำกัดในการวัดแรงดันไฟฟ้าไว้ ดังนั้น ในการวัดแต่ละครั้งควรประมาณปริมาณแรงดันไฟฟ้าที่จะวัด และเลือกใช้โวลต์มิเตอร์ที่มีขีดจำกัดที่เหมาะสม ถ้าใช้มิเตอร์เข็มอย่าต่อปลาย + และ - ของโวลต์มิเตอร์ผิดพลาด เพราะเข็มจะตีกลับด้านทำให้มิเตอร์เสียหายได้ แต่ถ้าใช้มิเตอร์ดิจิตอลสลับสายผิดด้านไม่เป็นไรเพราะอ่านค่าแรงดันไฟได้แต่ตัวเลขจะติดลบ เช่น - 4.5 V
วิธีวัดค่าความต้านทาน
เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดความต้านทานเรียกว่า เทสต์มิเตอร์ (Test meter) หรือมัลติมิเตอร์ (Multimeter)
ตัวอย่างการวัด เครื่องวัดชนิดนี้สามารถวัดได้ทั้งกระแส , แรงดัน และความต้านทาน ดังนั้น ในการวัดค่าความต้านทาน ต้องสับสวิตช์มาที่ใช้วัดความต้านทานก่อน และเริ่มวัดค่าโดยนำปลายทั้งสองข้างของมิเตอร์มาแตะกัน ดังรูปที่ 1 แล้วปรับให้เข็มของมิเตอร์ชี้ที่ 0 โอห์ม จากนั้นนำปลายทั้งสองของมิเตอร์ไปต่อกับตัวต้านทานและอ่านค่าความต้านทานจากมิเตอร์ ดังรูปที่ 2
อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดจากขนาดใหญ่โตจนมาเป็นขนาดเล็กๆ ซึ่งมีทั่วไปสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้อีเลคทรอนิคส์ทั่วไปอาทิเช่นวิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเสียง ฯลฯ แต่เมื่อยุคทองของระบบการสื่อสารเข้ามาถึงซึ่งแน่นอนอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสื่อสารมากที่สุดก็คือ โทรศัพท์มือถือ ดังนั้นอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์จากเดิมที่มีขนาดใหญ่โตมีขาเกะกะก็ถูกย่อให้เล็กลง แต่มีคุณสมบัติและหน้าที่ของการนำไปใช้งานก็ยังคงเหมือนเดิม ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เราเรียกชื่อว่า SMD (SURFACE MOUNT DEVICE) เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีขาโผล่ออกมาแต่จะมีขาติดกับตัวมันเลยและจะวางบนแผ่นวงจร หรือ PCB ด้านเดียวทำให้ประหยัดเนื้อที่การใช้งาน
1. รีซิสเตอร์ RESISTOR ชื่อย่อ R หรือตัวต้านทาน
ตัวต้านทานมีหน่วยเป็น โอห์ม OHM ทำหน้าที่ให้ความต้านทานแก่วงจร เมื่อนำความต้านทานมาต่อเข้ากับวงจรใดๆ ความต้านทานนั้นจะต้านการไหลของ
กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟ สัญญาณต่างๆ แต่ส่วนใหญ่ตัวต้านทานมักจะใช้ในการลดกระแสไฟในวงจร หลักง่ายๆ ถ้าตัวต้านทานมีค่ามากกระแสจะไหลผ่านได้น้อย ในทางกลับกันถ้าความต้านทานมีค่าน้อยกระแสจะไหลผ่านได้มากและเมื่อกระแสไหลผ่านตัวต้านทานก็จะเกิดความร้อนซึ่งมีหน่วยเป็น วัตต์ WATT การแทนค่าของความต้านทาน 1,000 โอห์ม = 1 K หรือ 1 กิโลโอห์ม 1,000,000 โอห์ม = 1 M หรือ 1 เมกกะโอห์ม 2. คอนเดนเซอร์ หรือ คาพาซิเตอร์ CONDENSOR CAPACITOR ชื่อย่อ C หรือตัวเก็บประจุ ชนิดไม่มีขั้ว ชนิดมีขั้ว ชนิดไม่มีขั้ว ชนิดมีขั้ว
ชนิดไม่มีขั้วในมือถือ ชนิดมีขั้วในมือถือ
ภายในคอนเด็นเซอร์ประกอบด้วยแผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่น วางห่างกันโดยมีสารไดอีเล็คตริคกั้นอยู่ระหว่างแผ่นตัวนำทั้ง 2 เป็นอุปกรณ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโทรศัพท์มือถือ มักนำไปใช้ในวงจรกรองแรงดันไฟเพื่อให้ไฟเดินเรียบ ให้สังเกตง่ายๆในวงจรถ้า C ขาด้านหนึ่งต่อลงกราวนด์หรือไฟลบ และมีไฟบวกเชื่อมต่อกับขา C อีกข้างหนึ่งและต้นทางของไฟบวกหรือปลายทางของเส้นไฟบวกมีอักษรภาษาอังกฤษกำกับอยู่ว่า V นั่นแสดงว่า C ตัวนั้นทำหน้าที่กรองแรงดันไฟเส้นนั้น ซึ่งในไฟแต่ละเส้นอาจจะมี C ต่อขนานอยู่หลายๆตัวก็ได้
ตัวอย่างวิธีการดู C C ที่กรองแรงดันไฟอย่างเดียว ในวงจรถ้าขาข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟลบหรือกราวนด์และอีกข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟบวก ( V ) ตัวแรกนำหน้าตัวอักษรตัวหลังอาจจะเป็นอะไรก็ได้อาทิเช่น Vchp Vsynte หรือ Vrxrf และปลายทางของลายวงจรเส้นนั้น จะมีคำว่า V นำหน้า อาทิเช่น VBB VRF_RX VPRE VCP หรือ VLO นั่นสรุปได้เลยว่าลายวงจรเส้นนั้นเป็นไฟแน่นอนและบางเส้นจะมี C กรองแรงดันไฟถึง 2 ตัว และ C แต่ละตัวก็จะมีหน้าที่กรองแรงดันไฟ C ที่กรองแรงดันไฟและสัญญาณ ในวงจรถ้าขาข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟลบหรือกรานด์และอีกข้างหนึ่งของ C ต่อกับไฟบวก แต่ตัวอักษรในลายวงจรต้นทางไม่มีตัว V แต่มีตัวอักษรตัวอื่นยกตัวอย่างในรูปด้านบนเป็นตัว T ( TXC ) หรือในบางเส้นของลายวงจรอาจจะเป็น AFC หรือ OUT_CP หรือตัวอักษรใดๆก็ได้ที่ไม่ใช่ตัว V นำหน้านั่นสรุปได้ว่า C ตัวนั้นทำหน้าที่กรองแรงดันไฟและสัญญาณ
C ส่งผ่านสัญญาณ ในวงจรให้สังเกตุว่า C ทั้ง 2 ตัวขาของ C แต่ละตัวไม่ได้ต่อกับไฟลบหรือกราวนด์เลย C ที่ต่อลักษณะนี้จะทำหน้าที่ส่งผ่านสัญญาณ และมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ไฟ DC หรือไฟกระแสตรงผ่านเราเรียกการต่อแบบนี้ว่า คัปปลิ้ง ( COUPLING ) ซึ่งใช้เฉพาะในส่วนของวงจรเชื่อมโยงสัญญาณเท่านั้น
สัญลักษณ์ของ ไฟลบ หรือกราวนด์ GROUND หรือ GND
กราวนด์ หรือไฟลบ ในวงจรมีมากมายหลายจุดเชื่อมโยงถึงกันหมดทั้งวงจรซึ่งสัญลักษณ์โดยทั่วไปจะเป็นลักษณะดังนี้ C มีหน่วยเป็น ฟารัด (FARAD) แต่เนื่องจากฟารัดเป็นหน่วยที่ใหญ่มากจึงต้องลดทอนหน่วยลงมาให้เป็นหน่วยย่อย โดยหน่วยที่ใช้กันมีดังนี้
- ไมโครฟารัด ( MICRO FARAD ) ตัวย่อ MF
- นาโนฟารัด (NANO FARAD ) ตัวย่อ NF
- พิโคฟารัด (PICO FARAD ) ตัวย่อ PF
3. คอยล์ COIL ชื่อย่อ L หรือ ขดลวด ทำหน้าที่เหนี่ยวนำหรือลดความเร็วของกระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น เฮนรี่ HENRY ในวงจรของโทรศัพท์มือถือมักใช้เป็นมิลลิเฮนรี่ หรือ Mh รูปร่างบนแผงวงจรมีลักษณะ ขนาดและสีคล้ายรีซิสเตอร์มาก วิธีวัดคอยล์ ให้ใช้มิเตอร์ตั้งไปที่การวัดความต่อเนื่องถ้าวัดหัวและท้ายของคอยล์แล้วมีเสียงดังแสดงว่าคอยล์ปกติ ส่วนการวัดค่าเฮนรี่ของคอยล์ต้องใช้มิเตอร์ที่มีการวัดค่าคอยล์โดยเฉพาะ ตัวอย่างวิธีการดู L หรือ คอยล์ L เหนี่ยวนำกระแสหรือลดความเร็วของไฟ
ในวงจรสังเกตุว่าถ้าในลายวงจรต้นทางมีอักษร V ซึ่งแสดงถึงภาคของการจ่ายไฟ และให้สังเกตว่ามี ไฟผ่าน คอยล์หรือ L ด้วยและคอยล์หรือ L จะต่ออนุกรมกับเส้นไฟแสดงว่า L ตัวนี้ทำหน้าในส่วนของการเหนี่ยวนำกระแสไฟ หรือทำให้กระแสไฟไหลได้ช้าลงก็ได้
L หรือ COIL เหนี่ยวนำสัญญาณ
ในวงจรถ้า C ไม่มีขาใดขาหนึ่งลงกราวนด์แสดงว่า C ตัวนั้นทำหน้าที COUPLING หรือส่งผ่านสัญญาณ และสังเกตที่ คอยล์หรือ L ขาข้างหนึ่งจะต่อลงกราวนด์หรอไฟลบ แสดงว่า คอยล์หรือ L ทำหน้าที่เหนี่ยวนำสัญญาณ
4. ไดโอด DIODE
ทำหน้าที่ ยอมให้กระแสไฟไหลผ่านได้ทางเดียว คือผ่านตามเส้นของลูกศร โดยทั่วไปมักใช้ในวงจรเร็คติไฟร์หรือวงจรเรียงกระแส วงจรดีเทคเตอร์ และเมื่อมีการใช้งานจะมีแรงดันตกคร่อมประมาณ 0.7 V
5. ซีเนอร์ ไดโอด ZENER DIODE
หน้าที่ของซีเนอร์ไดโอดคือใช้ควบคุมแรงดันไฟให้คงที่ไม่ว่าแรงดัน +Vcc จะเปลี่ยนไปเท่าไร แรงดัน Vz ยังคงที่ โดยมีเงื่อนไขว่าแรงดัน +Vcc จะต้องมากกว่า Vz อย่างน้อย 1 โวลท์ และการใช้ซีเนอร์ไดโอดในวงจรจะต้องใช้ตัวต้านทานหรือรีซิสเตอร์ต่อเพื่อจำกัดกระแส เสมอ
ซีเนอร์ไดโอด ในโทรศัพท์บรรจุทั้ง 4 ตัวในแพ็คเก็จเดียวกันและมีขากราวนด์ ร่วมกันคือขา 2 ดังรูป ดังนั้น 4 ตัวซึ่งจะต้องมี 8 ขา จึงเหลือแค่ 5 ขาเท่านั้น
นอกเหนือจากอุปกรณ์ที่กล่าวมานี้ยังมีอุปกรณ์ที่มี 2 ตัว หรือ 4 ตัวอยู่ใน แพ็คเก็จเดียวกัน อาทิเช่น R 2 ตัวอยู่ในตัวเดียวกันมักจะเรียกว่า R คู่ หรือ R แพร์ หรือ R ฟิลม์ ค่าความต้านทานทั้ง 2 ตัวก็เท่ากัน หรือ C 2 ตัวอยู่ในตัวเดียวกัน แม้แต่ R และ C 4 ตัวอยู่ในตัวเดียวกันก็มี
ข้อแนะนำ สำหรับผู้ที่ต้องการมีความรู้ด้านอีเล็คทรอนิคส์มาก ๆ ให้ลองไปหาตำราหรือหนังสือทางด้านอีเลคทรอนิคส์เริ่มตั้งแต่อีเล็คทรอนิคส์เบื้องต้นไปจนถึงอีเลคทรอนิคส์ชั้นสูง หรือสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตซึ่งมีเว็บไซต์ทั้งในและนอกประเทศตั้งแต่พื้นฐานจนไปถึงระดับสูงมากมายทั้งเว็บไทยและต่างประเทศเพราะการซ่อมมือถือต้องอาศัยความรู้และความชำนาญทางด้านอีเล็คทรอนิคส์เป็นอย่างมากเพราะถ้ามีความรู้แค่เปลือกนอกแล้วยากมากที่จะประสบผลสำเร็จในงานซ่อมมือถือ
การเตรียมเครื่องมือสำหรับการซ่อม
ในที่นี้จะกล่าวถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นจริงๆ ประเภทแหนบ คีม ไขควง ฯลฯ คงไม่กล่าวถึง
1. จิ๊กเทสต์ หรือ เทสต์บ๊อก JIG TEST TEST BOX
ใช้เพื่อวางแผงวงจร ซึ่งจิ๊กเทสต์จะมีขาสำหรับล็อกแผงวงจรให้คงที่ มีจุดใช้คู่กับซอฟท์แวร์ วินเทสล่า แก้ IMEI และปลดล๊อกตลอดจนการเชื่อมต่อกับ โปรแกรมแฟลชเพื่อทำการ อัพเกรดซอฟท์แวร์ วัดจุดต่างๆ บนแผงวงจรได้สะดวกรวดเร็ว เพราะการวัดไฟ หรือสัญญาณต่างๆ ในแผงวงจร จำเป็นต้องจ่ายไฟอย่างต่อเนื่องไม่ว่าเครื่องจะเปิดติดหรือไม่ติดก็ตามและวิธีที่สะดวกที่สุดคือการวัดบนจิ๊กเทสต์หรือเทสต์บ๊อก
2. สายดาต้าลิงค์ หรือ สายแฟลช
สำหรับ NOKIA 3310 จะใช้สาย 2 ชุด
ชุดที่ 1. สำหรับการแฟลชหรืออัพเกรด เรียกกันโดยทั่วไปว่าสายแฟลช
โดยทั่วไปมักใช้กับโปรแกรม แฟลช กล้วยหอม หรือ GEO FLASH
ชุดที่ 2. สำหรับการแก้อีมี่ ปลดล็อก โหลดภาพและเสียง และใช้ต่อเชื่อมกับโปรแกรม วินเทสล่า เรียกกันโดยทั่วไปสาย MBUS หรือสายแก้อีมี่ซึ่งข้อเสียของสาย 2 ชุดนี้ก็คือเมื่อทำการแฟลชเสร็จแล้วจะต้องสลับสายเพื่อแก้อีมี่อีกครั้ง การสลับสายบ่อยๆ อาจทำให้หัวแฟลชซึ่งปลายเป็นเข็มเล็กๆ อาจจะหักหรือชำรุดเร็วกว่าปกติ
ชุดที่ 3. ซึ่งเป็นชุดพิเศษ หรือ เรียกว่า เมจิกบ๊อกซ์ MAGIC BOX
ซึ่งหลังจากแฟลชแล้วไม่ต้องสลับสายเพียงเลื่อนสวิทซ์ 1 ครั้ง เท่านั้นก็สามารถทำการแก้อีมี่ต่อได้เลย ทำให้เป็นการรักษาและยึดอายุการใช้งานของเข็มที่หัวแฟลชได้ดีด้วยที่สำคัญคือยังสามารถแฟลชหรือปลดล็อกโทรศัพท์ในรุ่นอื่นๆ ได้โดยไม่ต้องสลับสายที่ COM PORT หลังคอมพิวเตอร์อีกด้วยรุ่นที่กล่าวถึงคือ MOTO SIEMENS และ ERICSSON
กล่องเมจิกบ๊อกซ์ MAGIC BOX
3. มิเตอร์เข็ม
ใช้เพื่อวัดการทำงานของกระดิ่ง มอเตอร์สั่นสะเทือนหลอดไฟ LED และลำโพง เนื่องจากมิเตอร์เข็มมี แบตเตอรี่ เพื่อทดสอบหรือจ่ายไฟให้อุปกรณ์ภายนอกจึงทำตรวจสอบอุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้นได้สะดวกโดยปกติแล้วสำหรับช่างทั่วไปใช้สำหรับวัดแรงดันไฟแต่สำหรับงานซ่อมมือถือแนะนำให้ใช้มิเตอร์ดิจิตอลในการวัดแรงดันไฟดีกว่า
4. มิเตอร์ดิจิตอล ( แสดงผลเป็นตัวเลข )
เหมาะสำหรับใช้วัดแรงดันไฟในการซ่อมโทรศัพท์มือถือเพราะมีหลายจุดในการวัด มีการกำหนดคำสั่งในซอฟแวร์ วินเทสล่า เพื่อวัดแรงดันไฟในหลายระดับอาทิเช่น วัดไฟ AFC วัดแรงดันไฟตั้งแต่ 22 มิลลิโวลท์ไปจนถึง 2.3 โวลท์ หรือ 2300 มิลลิโวลท์ ดังนั้นถ้าใช้มิเตอร์เข็มวัดไฟก็จะได้ผลของการวัดไฟที่ไม่ละเอียดและต้องปรับหรือเลือกตำแหน่งหรือสเกลหลาย ๆ ครั้ง ดังนั้นควรใช้เลือกใช้มิเตอร์ดิจิตอลที่เป็น AUTO RANGE หรือวัดได้ทุกย่านโดยตั้งไปที่ VDC โดยอัตโนมัตินอกจากนี้ มิเตอร์ดิจิตอลยังสามารถวัดความต้านทานและวัดกระแสได้อย่างแม่นยำอีกด้วย รวมทั้งวัดความต่อเนื่องของลายวงจร ว่าลายขาดหรือไม่ได้อย่างแม่นยำ เพราะถ้าลายวงจรไม่ขาดก็จะได้ยินเสียงจาก BUZZER หรือ เสียงดังต่อเนื่องจากมิเตอร์ออกมา
** ถ้าจะเป็นช่างซ่อมมืออาชีพ ขอแนะนำให้ใช้มิเตอร์ดิจิตอลในการวัดแรงดันไฟและควรเปลี่ยนปลายเข็ม ของสายวัดให้แหลมเหมือนเข็มหมุดหรือเข็มเย็บผ้า เพราะบริเวณจุดทดสอบหรือจุดวัดต่างๆในแผงวงจรเข็มที่ติดมากับมิเตอร์เข้าไปไม่ถึง และถ้าใช้กับการวัดสัญญาณโดยใช้ร่วมกับ ซอฟท์แวร์ วินเทสล่า แล้ว ถ้าปลายเข็มพลาดไปถูกกราวนด์หรือไฟลบก็จะทำให้โปรแกรม วินเทสล่า ทำงานผิดพลาด ต้องทำการรีเซตโปรแกรมใหม่ จะทำให้เสียเวลาในการซ่อม
5. ออสซิลโลสโคป OSCILLOSCOPE
ทำหน้าที่วัดรูปคลื่นและรูปสัญญาณต่างๆซึ่งมิเตอร์ไม่สามารถจะวัดได้ ในโทรศัพท์มีหลายจุดมากที่มิเตอร์ไม่สามารถวัดได้ต้องใช้ ออสซิลโลสโคป วัดเท่านั้น แต่ถ้าพูดถึง ออสซิลโลสโคป แล้ว แน่นอนราคาก็คงไม่ถูกมากนัก อย่างต่ำๆ แล้ว ก็หลักหมื่นจนถึงแสน หลักล้านก็มี เพราะถ้าจะให้การวัดเป็นไปอย่างถูกต้อง และแม่นยำแล้วนั้น ต้องใช้ออสซิลโลสโคปชนิดดิจิตอลสโตเรจเท่านั้น แต่ถ้าบอกว่ามี ออสซิลโลสโคป ที่มีคุณภาพเท่าหลักแสนแต่ราคาแค่หลักพันเท่านั้น ก็คงจะดีเพราะไม่ต้องลงทุนมากเกินความจำเป็น มีจริง ๆ ขอแนะนำ ( ดูรายละเอียดสินค้าและราคาได้ในหน้าสินค้า ) และขอบอกได้เลยว่าถ้าซ่อมมือถือแล้วไม่มี ออสซิลโลสโคป มาช่วยในการซ่อมแล้วบอกได้เลยว่า เหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา เพราะส่วนใหญ่ จะใช้วิธียกเปลี่ยนใหม่อย่างเดียวไม่ค่อยจะวัดจุดเสียในวงจรที่มีมากมายหลายจุดกัน ออสซิลโลสโคป สามารถวัดจุดต่างๆ ได้ดังนี้
รูปออสซิลโลสโคปในคอมพิวเตอร์
- วัดสัญญาณนาฬิกา 32.768 KHz
- วัดสัญญาณนาฬิกา 13 MHz และ 26 MHz
- วัดสัญญาณ IQ หรือ INPHASE QUADRATURE
- วัดสัญญาณพัลส์ PULSE
- วัดสัญญาณโลจิก LOGIC
และอีกหลายจุดในวงจร ( ดูภาพประกอบ และรายละเอียดใน TROUBLE SHOOTING ) การวัดโดยใช้ ออสซิลโลสโคป จะต้องใช้วัดคู่กับการใช้คำสั่งในโปรแกรม วินเทสล่า แล้ว ออสซิลโลสโคป ก็จะแสดงผลออกมาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ถ้าไม่ใช้โปรแกรม วินเทสล่า ก็จะไม่สามารถวัดรูปคลื่นต่างๆ ได้เลย และที่สำคัญออสซิลโลสโคปที่แนะนำ ( ราคาถูก ) ในหลายจุดที่วัดจะแสดงผลเป็นรูปคลื่นชัดเจนแล้วยังแสดงผลเป็นรูปของเสียงอีกด้วย สามารถรู้ได้ทันทีว่าโปรแกรม วินเทสล่า ควบคุม CPU ของ มือถือได้ถูกต้องและมือถือมีการตอบสนอง (RESPONSE) ตามคำสั่งของโปรแกรม วินเทสล่า หรือไม่
6. สเปคตรัม อนาไลเซอร์ SPECTRUM ANALYZER
เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการวัดสัญญาณในย่านความถี่สูงมากๆ เช่นความถี่จากเสาอากาศหรือ VCO และมีความสามารถพิเศษในการปรับรูป IQ ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง ซึ่งเครื่องมืออื่นๆ ไม่สามารถจัดการได้ แต่เนื่องจากราคาสูงมาก และยิ่งสูงมาก คุณภาพก็ดีมากด้วยเช่นกัน มีตั้งแต่ราคาหลักแสนต้นๆ จนถึงหลักล้าน ซึ่งราคาค่อนข้างจะเกินเอื้อมสำหรับช่างโดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะมีศูนย์ซ่อมมาตรฐานหรือผู้ที่มีฐานะการเงินดี และมีใจรักในการสะสมเครื่องมือ แต่ถ้าไม่มีเครื่องมือตัวนี้สามารถซ่อมมือถือได้อย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่ ตอบได้เลยว่าสบายมาก แค่มี ออสซิลโลสโคป ก็สามารถซ่อมอาการยากๆได้โดยเฉพาะ ภาคสัญญาณหรือภาควิทยุ มีเพียงไม่กี่อาการเท่านั้นที่ใช้สเปกตรัมวัด เพราะฉะนั้นมี ออสซิลโลสโคป ก็สามารถจัดการกับอาการเสียได้มากแล้ว แต่ถ้ามีสเปคตรัม อนาไลเซอร์ เพื่อวิเคราะห์อาการเสียได้ก็จะยิ่งทำให้การวิเคราะห์แม่นยำมากขึ้น
7. เครื่องกำเนิดสัญญาณความถี่วิทยุ RF SIGNAL GENERATOR
คือเครื่องกำเนิดหรือสร้างสัญญาณความถี่วิทยุ ใช้สำหรับสร้างความถี่วิทยุ (RF) หรือความถี่เสียง (AF) สามารถสร้างหรือผลิตความถี่ป้อนทางเสาอากาศหรือภาคฟรอนท์ เอนด์ FRONT END ให้เท่ากับความถี่จริงที่ใช้อยู่หรือ กำหนดความถี่อื่นๆ ได้มากมายแต่ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องด้วยมีราคาหลักแสนถึงหลักล้านเช่นกันแต่ถ้าไม่มีซ่อมมือถือได้มั๊ยตอบได้เลยว่าซ่อมได้เพราะใช้เทคนิคพิเศษโดยเอาความถี่จริงๆเสาส่งโทรศัพท์มือถือ BASE TRANSCIEVER SYSTEM หรือ CELLSITE ป้อนเข้ามือถือโดยตรงโดยใช้ร่วมกับโปรแกรม วินเทสล่า เพียงตรวจสอบตำแหน่งที่ซ่อมอยู่ในปัจจุบันว่ารับสัญญาณจากช่องไหนความถี่ที่เท่าใดโดยเช็คจาก NET MONITOR ในโทรศัพท์มือถือ หรือ โปรแกรม LOGO MANAGER ในเมนู NET MONITOR ก็สามารถทราบช่องที่ใกล้ที่สุดได้ และเอาช่องหรือความถี่ที่ได้ กำหนดในหัวข้อ RF TESTING ใน วินเทสล่า และเอา ออสซิลโลสโคป วัดสัญญาณ IQ ก็จะทราบโดยทันทีว่าโทรศัพท์ที่เรากำลังซ่อมอยู่นั่นภาครับดีหรือไม่ (สามารถเช็คได้แม่นยำกว่าค้นหาเครือข่ายเองในมือถือ ) ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้ทดแทนเครื่อง RF SIGNAL GENGRATOR ได้เช่นเดียวกัน และได้ผลการวัดที่แม่นยำมาก ดูรายละเอียดใน TROUBLE SHOOTING (ในหนังสือคู่มือซ่อม)
8. เครื่องเป่าลมร้อน HOT AIR
ใช้สำหรับยกวางอุปกรณ์ เนื่องจากอุปกรณ์บนโทรศัพท์มือถือถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กเรียกว่า SMD หรือ SURFACE MOUNT DEVICE ซึ่งต่างกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานทั่วไปที่มีขาโผล่ออกมาจากอุปกรณ์แล้วสอดขาให้ทะลุแผ่นวงจร ( แผ่นปริ๊นท์ )แล้วเชื่อมขาอีกด้านของแผ่นปริ๊นท์ ดังนั้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับโทรศัพท์มือถือหรือ SMD นั้นจะต้องใช้ลมเป่าที่ตัวอุปกรณ์แล้วใช้แหนบยกขึ้นมาหรือวางลงบนแผ่นวงจรเพื่อให้ตะกั่วที่ติดอยู่กับอุปกรณ์ประสานกับตะกั่วที่อยู่บนแผงวงจรนอกจากนี้เครื่องเป่าลมร้อนยังมีประโยชน์อีกหลายอย่างอาทิเช่นเป่าไล่ความชื้นออกจากแผงวงจรหรือใช้เป่าย้ำอุปกรณ์ในกรณีที่ขาอุปกรณ์เชื่อมต่อไม่สนิท
9. หัวแร้ง SOLDERING
ใช้สำหรับเชื่อม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยทั่วไปแต่สำหรับการซ่อมมือถือ ก็คือใช้เชื่อมต่อลายวงจรกรณีที่ลายวงจรหรือลายทองแดงขาดจะต้องใช้ลวดอาบน้ำยา เชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด ซึ่งก็ต้องใช้หัวแร้งเชื่อมเท่านั้น แม้แต่การเปลี่ยนหลอดไฟก็จำเป็นต้องใช้หัวแร้งเชื่อมหลอดไฟเช่นเดียวกันแต่ในปัจจุบันนี้ หัวแร้งและเครื่องเป่าลมร้อนมักจะอยู่ในเครื่องเดียวกันทำให้ราคาประหยัดลงกว่าซื้อแยกกัน แนะนำให้ใช้หัวแร้งชนิดที่ปรับอุณหภูมิได้
10. ชุดจ่ายไฟ POWER SUPPLY
ใช้สำหรับจ่ายไฟให้กับโทรศัพท์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปเพราะสามารถปรับเพิ่มหรือลดแรงดันไฟเท่ากับแบตเตอรี่มาตรฐานคือ 3.6 VOLT แต่สามารถปรับได้มากกว่านี้ได้ ประมาณ 3.6-3.8 VOLT และที่สำคัญคือชุดจ่ายไฟรุ่นใหม่ ๆ จะมีแอมป์มิเตอร์หรือ ชุดแสดงการกินกระแสหรือจ่ายกระแสไฟฟ้า ในรูปของตัวเลขดิจิตอลให้ด้วย และยังมีการป้องกันหรือ PROTECTION กรณีที่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรอีกด้วย
11. มิเตอร์ทดสอบ PA หรือ FIELD STRENGTH METER
ใช้สำหรับทดสอบความเข็มของสนามแม่เหล็กหรือกำลังส่งของ PA ได้โดยใช้โปรแกรม วินเทสล่า เพิ่มกำลังส่งมากขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นกัน แต่ถ้าใช้คำสั่งในโปรแกรมวินเทสล่าแล้วเข็มไม่กระดิกแสดงว่า PA เสียโดยปกติช่างทั่วไปมักจะใช้ตุ๊กตาไฟทดสอบ แต่ตุ๊กตาไม่สามารถสังเกตการเพิ่มหรือลดกำลังส่งของ PA ได้นอกจากนี้มิเตอร์ นี้ ยังสามารถทดสอบโทรศัพท์แต่ละเครื่องโทรศัพท์ แล้วกด 112 กดโทรออก นำโทรศัพท์เข้าใกล้มิเตอร์ ถ้าเข็มกระดิก แสดงว่า PA ของเครื่องที่กำลังทดสอบทำงานปกติ ( ดูลายละเอียดในหน้าสินค้าแนะนำ )
12. คอมพิวเตอร์ COMPUTER
กล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์มีความสำคัญในระดับต้นๆ ของการซ่อมโทรศัพท์เลยทีเดียว เพราะปัญหาส่วนหนึ่งที่เกิดกับโทรศัพท์ก็คือ ปัญหาด้าน ซอฟท์แวร์ บ่อยครั้งที่เครื่องเปิดไม่ติดเป็นเพราะซอฟท์แวร์ภายในหน่วยความจำหรือ FLASH มีปัญหาหรือที่ช่างเรียกว่า ซอฟท์แวร์แฮงค์ นั่นแหละ ถ้าไม่ใช้คอมพิวเตอร์เข้าไปแฟลชหรือแก้ไขใหม่เครื่องก็ไม่สามารถเปิดได้ และที่สำคัญก็คือการใช้โปรแกรม วินเทสล่า เข้าไปจัดการกับโทรศัพท์มือถือในส่วนของภาควิทยุหรือ RF ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ไปสั่งการกับซอฟท์แวร์แล้วการซ่อมในภาคนี้จะยุ่งยากมากเพราะเราไม่สามารถจะทราบปัญหาที่แท้จริงบ่อยครั้งที่ช่างเปลี่ยนอุปกรณ์หลาย ๆ ตัวแล้วยังใช้งานไม่ได้ แต่ถ้าใช้โปรแกรม วินเทสล่า แล้วจะสามารถแก้ปัญหาอาการเกี่ยวกับภาควิทยุได้ง่ายดายและเปลี่ยนอุปกรณ์ถูกตัวด้วยหรืออาจจะไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์เลย และที่จะกล่าวถึงมาก ๆ ก็คือ การติดตั้ง ออสซิลโลสโคป ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการดึงเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ทั้งด้านภาพและเสียงจาก SOUND CARD แสดงผลออกมาอย่างชัดเจน ทำให้ผู้ใช้ประหยัดเงินในการซื้อ ออสซิลโลสโคป ราคาแพงๆ เพราะเป็นการดึงความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่
วิธีเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
สำหรับผู้ที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์แนะนำให้ซื้อคอมพิวเตอร์ที่มี 2 คอมพอร์ต หรือมี 2 พอร์ตอนุกรม ( 9 ขา ) เพราะสามารถใช้กับโปรแกรม วินเทสล่า 1 พอร์ต และ ออสซิลโลสโคป อีก 1 พอร์ต แต่สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ถ้ามีพอร์ตอนุกรม ( 9 ขา ) พอร์ตเดียวให้เช็ค PROPERTY ว่ามีอยู่กี่พอร์ต วิธีการเช็คทำตามนี้
ถ้าเช็คแล้วปรากฎว่ามี (COM2) อยู่ใน SYSTEM PROPERTIES บางทีอาจจะไม่ต้องเสียเงินซื้อ PCI SERIAL CARD หรือ COMPORT มาเพิ่มเพราะเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์บางรุ่นมี COM 2 อยู่บนเมนบอร์ดเพียงซื้อสายมาต่อเพื่มราคาประมาณไม่เกิน 100 บาทก็ใช้งานได้แล้วแต่จะต้องแกะฝาเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วสังเกตดูบนแผงวงจรว่ามีตำแหน่ง COM 2 อยู่บน แผงวงจรบริเวณไหน เมื่อพบแล้วให้หาสาย DB 9 มาต่อยึดกับแท่นหลังเครื่องเตรียมใช้งานในลำดับต่อไป ( ถ้าไม่มีความชำนาญควรใช้ช่างคอมพิวเตอร์แกะเครื่องแล้วติดตั้งสายให้ )
แต่สำหรับผู้ที่เช็ค PROPERTIES แล้วมีเพียง COM 1 เพียงคอมเดียวต้องซื้อ PCI SERIAL CARD มาใส่ใหม่ แล้วติดตั้ง DRIVER ของการ์ดด้วย แนะนำให้ใช้ยี่ห้อ DTEC เพราะราคาถูกติดตั้งง่าย ( ถ้าผู้ติดตั้งไม่มีความชำนาญควรให้ช่างคอมพิวเตอร์ติดตั้งจะดีกว่า )
หมายเหตุ
สำหรับ COM 2 มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ออสซิลโลสโคปในคอมพิวเตอร์เท่านั้น
ความเร็วของคอมพิวเตอร์
CPU ขั้นต่ำต้อง 300 MHz ขึ้นไป
RAM ขั้นต่ำต้อง 16 MB ขึ้นไปให้ดีต้อง 64 MB ขึ้นไป
ระบบปฏิบัติการ
WIN 98 หรือ ME เท่านั้น
ถ้าใช้ WINDOWS XP อยู่ก็ให้ช่างเพิ่ม WIN 98 หรือ ME เข้าไปในคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน
เริ่มเข้าสู่กระบวนการซ่อม
แบ่งออกเป็น 2 ชนิดของการซ่อม
1. ซ่อมเครื่องที่เปิดไม่ติด
- ซ่อมเครื่องที่เปิดติด
- เครื่องเปิดไม่ติด
สาเหตุหลักที่พบบ่อย
- เครื่องตกพื้น
- เครื่องตกน้ำหรือชื้น
- ชอร์ตเนื่องจากอุปกรณ์ภายใน
- ซอฟท์แวร์ทำงานผิดปกติหรือข้อมูลผิดพลาด
2. เครื่องเปิดติดแต่ใช้งานไม่ได้
สาเหตุหลักที่พบบ่อย
- ไม่มีสัญญาณ
- สัญญาณอ่อนมาก
- มีสัญญาณแต่โทรเข้าออกไม่ได้
- กดปุ่มไม่ได้
- CONTACT SERVICE
- จอ LCD ไม่ทำงาน
- ชาร์จไฟไม่เข้า หรือถอดสายชาร์จแล้วไม่หยุดชาร์จ
- กระดิ่ง หลอดไฟ LED มอเตอร์สั่นไม่ทำงาน
- ฯลฯ
สิ่งแรกที่ช่างต้องพึงกระทำคือ .....
สังเกตด้วยสายตาก่อนว่าแผงวงจรอยู่ในสภาพปกติหรือเปล่ามีคาบน้ำหรือแตกงอหรือเปล่าถ้าถูกน้ำให้ใช้ น้ำยาโซลเวน หรือทินเนอร์ล้างแผงวงจรให้สะอาดผึ่งให้แห้ง ถ้าเครื่องหักหรือแตกงอให้สังเกตอุปกรณ์บนแผงวงจรว่ามีอุปกรณ์อยู่ครบทุกตัวหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับแผงวงจรที่ดีถ้าไม่มีแผงวงจรดีให้เอา LAYOUT มาเทียบดูและที่สำคัญมากๆให้สังเกตดูเวอร์ชั่นของแผงวงจรด้านซ้ายล่างให้ละเอียดก่อนซ่อมด้วย ไม่แนะนำให้ประกอบเครื่องก่อนเพราะถ้าใช้แบตเตอรี่จ่ายไฟเข้าเครื่องในบางกรณีเครื่องยังชอร์ตหรือกินกระแสมากกว่าปกติถ้าเปิดเครื่องแล้วมีปัญหาจะไม่สามารถตรวจสอบการกินกระแสของเครื่องได้เลยอาจจะทำให้ PA หรือ CCONT ชำรุดได้ทันที ให้นำเครื่องไปวางบนจิ๊กเทสต์จากนั้นให้จ่ายไฟเข้าที่ขั้วบวกและลบทดลองเปิดเครื่องสังเกตการกินกระแสของชุดจ่ายไฟ ( ชุดจ่ายไฟรุ่นใหม่มีตัวเลขแสดงการกินกระแสของโทรศัพท์มือถือทุกเครื่อง ) ถ้าเครื่องกินกระแสมากกว่าปกติให้รีบถอดสายจากชุดจ่ายไฟก่อนแล้วเช็คตามขั้นตอนของ TROUBLE SHOOTING หรือขั้นตอนการแก้ปัญหาตามลำดับ แต่สำหรับการตรวจเช็คในกรณีที่ไม่ได้แกะเครื่องแต่จะตรวจสอบการกินกระแสของเครื่องก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่แต่ใช้สายที่เป็นปากคีบจากชุดจ่ายไฟแทนให้ต่อสายตามรูปดังนี้
วิธีการต่อให้หาสายเพิ่มอีก 1 เส้นยาวประมาณ 15 เซนติเมตรเชื่อมสายต่อกับปากคีบสีเขียวและนำสายเส้นนี้ไปเชื่อมต่อกับเส้นไฟลบหรือปากคีบสีดำตามรูปเมื่อต่อเสร็จแล้วก็สามารถใช้สายจากชุดจ่ายไฟแทนแบตเตอรี่ได้และที่สำคัญสามารถตรวจเช็คกระแสของโทรศัพท์ขณะที่เครื่องทำงานได้ด้วย
หมายเหตุ : ถ้านำสายบวกและลบเพียงสองเส้นจากชุดจ่ายไฟต่อกับโทรศัพท์เครื่องจะเปิดไม่ติด ต้องต่อขา 2 หรือขา BSI (BATTERY SIZE INDICATOR)หรือขาตรวจสอบขนาดหรือชนิดของแบตเตอรี่ด้วยถึงจะทำให้เครื่องเปิดติดแต่ถ้าใส่ซิมการ์ดอยู่ทดลองถอดขา 2 ออกโทรศัพท์จะฟ้อง ใส่ซิมการ์ด หรือ INSERT SIMCARD ทันทีเพราะขา 2 ของขั้วแบตเตอรี่จะทำหน้าตรวจสอบซิมการ์ด (CARD DETECT) ด้วย
วิธีสังเกตเวอร์ชั่นของแผงวงจร
โทรศัพท์ NOKIA 3310 เริ่มผลิตประมาณปี 1999-2000 โดยการผลิตในช่วงปีแรกจะมีการกำหนดเวอร์ชั่นของแผงวงจรโดยเวอร์ชั่นแรกที่เริ่มผลิตคือ เวอร์ชั่น 08 รหัสที่เขียนบนแผงคือ UB4_08 และเวอร์ชั่นสุดท้ายที่ผลิตคือเวอร์ชั่น 12 รหัสที่เขียนบนแผงคือ UB4_12 แต่ละเวอร์ชั่นต่างกันอย่างไรต่างกันที่แต่ละเวอร์ชั่นบริษัทจะทำการแก้ไขปัญหาและข้อผิดพลาดเพื่อให้โทรศัพท์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดและปัญหาในการเคลมประกันน้อยที่สุด เนื่องจาก NOKIA 3310 เป็นโทรศัพท์ที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในโลกและในประเทศไทยก็มีผู้ใช้รุ่นนี้มากที่สุดปัญหาต่างๆก็มากตามสัดส่วนของการจำหน่ายเช่นกันเมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขแต่ละครั้งก็จะทำการเปลี่ยนเวอร์ชั่นด้วยซึ่งส่วนใหญ่การแก้ไขและปรับปรุงมักจะเป็นการนำอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นหรือสร้างปัญหาทำให้โทรศัพท์ทำงานผิดพลาดออกและเมื่อถอดอุปกรณ์ออกไปแล้วบนลายวงจรหรือ SCHEMATIC ก็ทำเครื่องหมายกากบาทบนอุปกรณ์ตัวที่ถอดออกและกำกับคำว่า NOT ASSEMBLED ซึ่งแปลว่าไม่ได้ประกอบแล้ว ( ดูรูป ) โดยปกติแล้วช่างไม่ค่อยได้สังเกตหรือไม่รู้จักเวอร์ชั่นของแผงวงจรบางครั้งเห็นอุปกรณ์บางตัวที่บริษัทถอดออกไปคิดว่าเป็นอุปกรณ์ที่หลุดหายไปก็เอาจากแผงวงจรที่ต่างเวอร์ชั่นมาใส่อาจจะเป็นการสร้างปัญหามากกว่าการแก้ปัญหาก็ได้ดังนั้นทุกครั้งที่ซ่อมโทรศัพท์ให้สังเกตเวอร์ชั่นด้วยทุกครั้งเมื่อนำแผงวงจรมาเปรียบเทียบตำแหน่งอุปกรณ์ต่างๆจะได้เหมือนกัน
ตรวจสอบช่องสัญญาณใน NETMONITOR
การตรวจสอบช่องสัญญาณมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากการซ่อมโทรศัพท์ให้ถูกวิธีและตรงตามขั้นตอนของบริษัทนั้นจะต้องมีเครื่องมือที่สำคัญหลายตัวโดยเฉพาะ เครื่องผลิตความถี่หรือป้อนความถี่ RF GENERATOR เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ป้อนความถี่เข้าไปทางเสาอากาศของโทรศัพท์เพื่อทดสอบสัญญาณทางภาครับ โดยหลักแล้วการซ่อมโทรศัพท์ในภาคสัญญาณหรือภาควิทยุ จะต้องตรวจสอบการทำงานของภาครับก่อนว่าทำงานได้ปกติหรือไม่เพราะอาการที่ไม่มีสัญญาณอาจจะเสียได้ทั้งภาครับ (RX) ภาคส่ง (TX) และภาคสังเคราะห์ความถี่ (SYNTHESIZER) ดังนั้นถ้าภาครับไม่ทำงานภาคส่งก็ไม่สามารถทำงานได้เช่นกันเพราะภาครับจะเป็นภาคที่ตรวจสอบระดับความเข้มของสัญญาณหรือ RX LEVEL เพื่อให้ภาคส่งๆกำลังส่งหรือ TX LEVEL ในระดับที่สัมพันธ์กันถ้ารับทำงานผิดปกติภาคส่งก็ไม่สามารถส่งกำลังส่งในระดับที่ถูกต้องได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบภาครับในลำดับแรกก่อนทุกครั้ง ส่วนภาคสังเคราะห์สัญญาณหรือภาคผลิตความถี่ท้องถิ่นหรือ LOCAL OSCILLATOR จะทำหน้าที่ผลิตความถี่สูงให้ทั้งภาครับและภาคส่งดังนั้นถ้าภาคนี้มีปัญหาก็จะทำให้ภาครับและภาคส่งไม่สามารถทำงานได้เช่นกัน ซึ่งการตรวจสอบในภาครับจะต้องเริ่มจากการป้อนความถี่เข้ามาทางเสาอากาศแต่เนื่องจากเครื่องมือป้อนความถี่หรือ RF GENERATOR มีราคาที่สูงหลักแสนขึ้นไปดังนั้นจึงใช้เทคนิคพิเศษซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆโดยการนำเอาความถี่ที่ใช้งานจริงๆจากเครือข่ายที่อยู่ใกล้เราที่สุดหรือ CELL SITE ป้อนเข้ามาทางเสาอากาศของโทรศัพท์ที่กำลังซ่อมแต่ก่อนอื่นจะต้องทราบก่อนว่าช่องสัญญาณที่ใช้งานอยู่ที่ CHANNEL หรือช่องอะไรซึ่งมีวิธีดูช่องสัญญาณที่ใช้งานอยู่ที่ใกล้เราที่สุดมี 2 วิธีดังนี้
- ดูจาก MENU ในโทรศัพท์ NOKIA ทุกรุ่น
- ดูจากโปรแกรม LOGOMANAGER ( สำหรับโหลดภาพและเสียง )
NETMONITOR คือ เครื่องมือสำหรับตรวจสอบคุณภาพสัญญาณช่องสัญญาณทั้งภาครับและภาคส่ง ข้อมูลของเครือข่าย การเรียกเข้าโทรออก การเข้ารหัสเสียง ค่าแรงดันและกระแสของแบตเตอรี่ ตรวจสอบค่าต่างๆของการชาร์จแบตเตอรี่ ทดสอบผลหรือค่าพารามิเตอร์ต่างๆของ SIM แสดงผลก่อนและหลังการทดสอบ ฯลฯ ซึ่งในการแสดงผลสามารถตรวจสอบได้จากโทรศัพท์ NOKIA ทุกรุ่นและ จากซอฟท์แวร์ภายนอกเช่น LOGO MANAGER โดยปกติแล้ว NETMONITOR มักจะใช้โดยเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบคุณภาพสัญญาณของเครือข่าย แต่สำหรับช่างซ่อมมือถือก็สามารถดึงเอาความสามารถพิเศษของ NETMONITOR มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อ RF GENERATOR ได้อย่างมหาศาล แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ การจะใช้ช่องสัญญาณที่ตรวจสอบได้จาก NETMONITOR เพื่อใช้ในการซ่อมมือถือนั้นต้องใช้คู่กับ โปรแกรม วินเทสล่า เท่านั้น
วิธีเพิ่มเมนู NETMONITOR หรือ FIELDTEST ในโทรศัพท์ NOKIA
1. ต่อสาย DATALINK หรือสาย MBUS เข้ากับมือถือ
2. เปิดเครื่องมือถือ
3. ทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้
4. ที่โทรศัพท์จะปรากฏเมนูใหม่ขึ้นมาแต่ละเมนูอาจจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าใช้โทรศัพท์ NOKIA รุ่นไหน เมนูอาจจะปรากฏดังรูปข้างล่าง
ซอฟท์แวร์ วินเทสล่า WINTESLA
วินเทสล่าเป็น ซอฟท์แวร์ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ NOKIA ซึ่งมีมาหลายปีแล้วเป็น โปรแกรมเสมือนหรือ SIMULATE ทำหน้าที่กำหนดคำสั่งในโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์ผ่านสาย DATALINK หรือ MBUS เข้าไปควบคุม CPU หรือ MAD 2 ของโทรศัพท์มือถือ NOKIA ในตระกูล DCT3 ซึ่งการควบคุมในภาคต่างๆโปรแกรมจะทำการทดสอบในภาคต่างๆเพื่อดูการตอบสนองของคำสั่งต่างๆว่าทำงานได้ถูกต้องหรือไม่และการทดสอบในภาคต่างๆสามารถวัดการตอบสนองคำสั่งได้ในรูปแบบของการจ่ายแรงดันไฟ สัญญาณต่างๆ ความเข้มของสนามแม่เหล็ก แสงสว่าง หรือเสียง และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดก็คือ มัลติมิเตอร์ ออสซิลโลสโคป สเปคตรัม อนาไลเซอร์ หรือ กล่องวัดกำลังส่ง ( Field Strength Meter )
การควบคุมภาคต่างๆมีรายละเอียดดังนี้
CPU
- ทดสอบ ชุด BUS CONTROL ( DATA CLOCK ENABLE RESET )
- ทดสอบ วงจรควบคุมกำลังส่ง TXP ใน HAGAR
COBBA
-
- ทดสอบ TX I Q ( INPHASE QUADRATURE )
- ทดสอบ RXC หรือควบคุมไฟ AGC ไปยังวงจร DNC ใน HAGAR
- ทดสอบ AFC หรือชดเชยความถี่ของ 26 MHz
- ทดสอบ TXC ควบคุมระดับกำลังส่งของ PA ผ่านวงจร PWC ใน HAGAR
- ทดสอบ PCM ควบคุมการถอดรหัสเสียง หรือ DECODER SPEECH CODING
- ทดสอบ การจ่ายไฟเลี้ยงและไฟไบอัสของไมโครโฟน
- ตรวจสอบ อาการ CONTACT SERVICE ใน โหมด SELF TEST
HAGAR
- ทดสอบ RX I Q ( INPHASE QUADRATURE )
- ทดสอบ วงจร DTOS และ BIQUAD
- ทดสอบ วงจร DNC2
- ทดสอบ การจ่ายไฟเลี้ยง LNA หรือ VLNA
- ทดสอบ การจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับ PA หรือ VAPC,VPCTRL
- ทดสอบ การจ่ายไฟเลี้ยงให้สวิทช์แอนเทนน่า หรือ VANT
- ทดสอบ การจ่ายไฟเลี้ยงภาค BUFFER หรือ ขยาย GSM 2 วัตต์
- ทดสอบ การจ่ายไฟจากวงจรชาร์จปั๊มใน PLL ผ่าน ลูปฟิลเตอร์สำหรับ VCO
- ทดสอบ วงจร DETECT หรือวงจรตรวจสอบกำลังส่งของ PA
- ทดสอบ การจ่ายความถี่ SHF (3420-3840 MHz) ของ VCO
CCONT
ทดสอบการจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับภาควิทยุ หรือ RF ทั้งหมด
- VRXRF สำหรับ LNA วงจร DTOS และวงจรถอดสัญญาณวิทยุหรือ DEMOD
- VSYNTE สำหรับ วงจรหาร 2,4 ปรีสเกลเลอร์ วงจรเฟสล๊อคลูป หรือ PLL
- VCOS สำหรับ VCO
- VCP สำหรับ ไอซีเรกกูเลท N 503
- VCHP สำหรับวงจรชาร์จปั๊ม
- VMOD สำหรับบาลันในภาคส่ง
- ทดสอบ การรีเซตแรงดันไฟและกระแสทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นภาคการจ่ายไฟ ภาคชาร์จไฟ และภาคควบคุมขนาดของแบตเตอรี่ (BSI) อุณหภูมิของแบตเตอรี่ (BTEMP) ซึ่งการรีเซตทั้งหมดเรียกว่า RUN : EMC หรือ RUN
- ENERGY MANAGEMENT CALIBRATION
UI SWITCH
- ทดสอบ การสั่นสะเทือน
- ทดสอบ การเพิ่มหรือลดเสียงกริ่ง
- ทดสอบ จอ LCD
- ทดสอบ แสงสว่างหรือหลอดไฟ LED
- ทดสอบ ความเข้มของจอ LCD หรือ CONTRAST โดยการเพิ่มหรือลดความเข้มของจอ LCD
อื่นๆอีกมากมาย
- รีเซตเครื่องให้กลับไปเป็นค่าโรงงานใหม่อีกครั้งไม่ว่าจะเป็นจำนวนเวลาของการใช้งานหรือข้อมูลใน EEPROM
- เพิ่มหรือลดคุณภาพเสียงใน MODE HALF,FULL RATE ENHANCH
- สามารถ FLASH ข้อมูลผ่านวินเทสล่าได้ (ต้องใช้อุปกรณ์เสริมพิเศษ )
- ทดสอบเสียงพูดและทดสอบการได้ยินจากลำโพงโดยใช้ MODE AUDIO
รายละเอียดภายในเมนูต่างๆของ วินเทสล่า
เมนู Tuning
R X Calibration...
TX Power ...
TX I/Q...
- ปรับมุมหรือเ ฟสของ สัญญาณไอคิว ต้องใช้สเปคตรัมอนาไลเซอร์
Energy Management Calibration
- สำหรับ รีเซตแรงดันไฟและกระแสทั้งหมดของ CCONT ไม่ว่าจะเป็นภาคการจ่ายไฟ ภาคชาร์จไฟ และภาคควบคุมขนาดของแบตเตอรี่ (BSI) อุณหภูมิของแบตเตอรี่ (BTEMP) ให้กลับไปเป็นค่าโรงงานหรือ DEFAULT
เมนู Testing
RF Controls...
- ทดสอบสำหรับภาครับ RX ภาคส่ง TX เพื่อเช็คสัญญาณ ไอคิว
- ทดสอบการถอดหรือหักล้างสัญญาณวิทยุ (DEMODULATOR)
- ทดสอบการจ่ายแรงดันไฟของ CCONT ที่จ่ายให้กับภาควิทยุทั้งหมด
- ทดสอบไฟเลี้ยง AGC
- ทดสอบไฟเลี้ยง AFC สำหรับ 26 MHz
- ทดสอบไฟเลี้ยง LNA ( LOW NOISE AMPLIFIER )
- ทดสอบ VCO ( VOLTAGE CONTROL OSCILLATOR )
- ทดสอบ TXP หรือวงจรควบคุมระดับกำลังส่งของ PA จาก CPU
- ทดสอบ คำสั่งจาก CPU หรือ BUS CONTROL
- ทดสอบการจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับ PA หรือ VPCTRL
- ทดสอบการจ่ายไฟสำหรับสวิทช์แอนเทนน่าหรือ VANT
- ทดสอบชุดควบคุมกำลังส่ง หรือ PWC ใน HAGAR
- ทดสอบการจ่ายไฟสำหรับวงจรขยายสัญญาณ GSM 2 วัตต์
RSSI Reading...
- สำหรับอ่านระดับความแรงของสัญญาณเข้าหรือ RADIO SIGNAL STRENGTH INDICATOR ( RSSI )
Self Tests...
- สำหรับทดสอบชุด อินเตอร์เฟสต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือติดต่อกับ CPU ไม่ว่าจะเป็น EEPROM CCONT INTERFACE วงจร ANALOG TO DIGITAL CONVERTOR ข้อมูลในแฟลช และ แรม
- ตรวจสอบอาการ CONTACT SERVICE ในส่วนของ COBBA
ADC Reading...
- อ่านข้อมูลของแรงดันไฟแบเตอรี่
- อ่านข้อมูลของกระแสไฟขณะชาร์จ
- อ่านข้อมูลของอุณภูมิแบตเตอรี่
- อ่านข้อมูลอุณหภูมิของ VTCXO หรือ 26 MHz
Audio...
- ทดสอบภาคเสียงทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นไมค์ กระดิ่ง ลำโพง
User Interface...
Call Simulation...
Noise Sensitivity...
- ตรวสอบความไวของสัญญาณรบกวนจากภาครับ
IR Test ...
- ตรวจสอบการรับส่ง INFARED ใช้เฉพาะรุ่นที่มีอินฟาเรดเท่านั้นเช่น 8210 8250 8850 6210 5210 3610
เมนู Software
Product Profile...
- สำหรับเซตค่าคุณภาพเสียงหรือ ENHANCH
- ปรับแต่งความเข้มของจอ หรือ CONTRAST
- กำหนดการพิมพ์ภาษาหรือ T9
- กำหนดพารามิเตอร์ต่างใน SIM
Start Up Self-tests...
- เซตหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน MCU หรือ EEPROM
Set Factory Values...
- เซตค่าของเครื่องทั้งหมดให้กลับเป็นค่าโรงงานเหมือนเดิม
Phone Identity...
- เซตข้อมูลต่างๆอาทิเช่นเลข IMEI หรือ MS ID
- แสดงข้อมูล SERIAL NUMBER ของ DONGLE หรือ PKD-1
Warranty State...
- กำหนดข้อมูลสำหรับการรับประกันขณะที่ส่งเครื่องซ่อมไปที่ศูนย์ซ่อม
Production Data Edit
- แสดงและแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
- แสดงและแก้ไขข้อมูลสำหรับ HARDWARE VERSION.
Flash Phone...
- สำหรับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน FLASH
- UP GRADE ข้อมูลใหม่ในส่วนของ MCU EEPROM และ PPM
เมนู Dealer
User Settings...
- สำหรับการตั้ง SECURITY CODE หรือ รหัส 5 หลัก
Short Code Memory...
- เซตและแสดงข้อมูลต่างใน SIM
SCM & User Settings
Restore User Defaults
- เซตค่าต่างสำหรับที่ User ตั้งไว้กลับไปเป็นค่าโรงงาน
Set UI/DEV Default Values...
- เซตค่าต่างของผู้ใช้ให้กลับไปเป็นค่าโรงงานในบางส่วนของข้อมูล
- เซตค่าต่างๆของผู้ให้บริการเครือข่าย หรือ OPERATOR
Post-programming memory...
- การแฟลชข้อมูลใหม่ในส่วนของภาษาแต่ละประเทศ
เมนู View
Quick/Rf info...
- แสดงข้อมูลของภาควิทยุอาทิเช่น กำลังทดสอบอยู่ในระบบอะไรGSM 900 หรือ PCN 1800 ใช้ช่องสัญญาณอะไร AFC ค่าที่เท่าไร AGC ค่าที่เท่าไร อยู่ใน MODE อะไร เช่น รับ RX หรือ ส่ง TX
Phone Information ...
- แสดงข้อมูลของโทรศัพท์อาทิเช่น SERIAL หรือ IMEI วัน / เดือน / ปี ที่ผลิต CODE ผลิตภัณฑ์ HARDWARE VERSION และสถานะของ COBBA
สรุปรายละเอียด ซอฟท์แวร์ วินเทสล่า
ซอฟท์แวร์ วินเทสล่า เป็นซอฟท์แวร์สำหรับการซ่อมมือถือโดยเฉพาะ โดยปกติถึงแม้จะมีเมนูมากมายแต่เมนูที่ใช้บ่อยที่สุดมีอยู่แค่ 2 เมนูเท่านั้นคือเมนู RF TESTING และ เมนู TUNING ซึ่งใช้สำหรับสั่งให้ HAGAR จ่ายสัญญาณและจ่ายไฟเลี้ยงอุปกรณ์ในภาครับและภาคส่ง สั่งให้ CCONT จ่ายไฟเลี้ยงสำหรับภาควิทยุออกมาทั้งหมด ถ้าไม่ใช้ วินเทสล่า ทดสอบแล้วละก็จะไม่สามารถวัดไฟจาก CCONT หรือ HAGAR ได้เลย ช่างส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า CCONT ทำให้เครื่องเปิดติดอย่างเดียวหรือควบคุมการทำงานของซิมการ์ด แต่มักจะนึกไม่ถึงว่าถ้าภาควิทยุไม่มีไฟเลี้ยงจาก CCONT แล้วละก็อาการที่เกิดขึ้นก็คือไม่มีสัญญาณเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเปลี่ยน CCONT ตัวใหม่แล้วเครื่องเปิดได้แต่ไม่มีสัญญาณหรือโทรเข้าโทรออกไม่ได้ให้ใช้ วินเทสล่า เช็คไฟที่เลี้ยงภาควิทยุให้หมดทุกเส้นเพราะว่าถ้าไฟที่เลี้ยงภาควิทยุขาดเพียงเส้นเดียวหรือไฟมาต่ำกว่าปกติรับรองได้เลยว่าโทรศัพท์เครื่องนั้นไม่มีสัญญาณแน่นอน โดยเฉพาะ CCONT ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันอาจจะเป็น CCONT เกรดต่ำหรือ CCONT เก่าที่มาทำขาบอลใหม่ซึ่งทำให้เครื่องเปิดติดแต่ไม่มีสัญญาณเยอะมากๆ แต่ช่างทั่วไปที่ใช้วิธียกและวางโดยไม่ได้วัดไฟที่จ่ายให้กับภาควิทยุ ถ้าเปิดเครื่องติดแล้วไม่มีสัญญาณหรือโทรเข้าออกไม่ได้อาจจะไม่รู้เลยว่า CCONT ตัวที่วางตัวนั้นไฟที่จ่ายให้กับภาควิทยุไม่จ่ายออกมาทำให้หลงประเด็นและวิเคราะห์อาการซ่อมที่แท้จริงไม่ถูกต้อง เพราะไฟที่จ่ายให้กับภาควิทยุจะต้องใช้ วินเทสล่า สั่งเท่านั้นถึงจะวัดไฟได้ บอกตรงๆ ว่าช่างเมืองไทย 90 กว่าเปอร์เซนต์ไม่เคยใช้ วินเทสล่า ในการเช็คแรงดันไฟในทุกๆภาคเลย และอีกเมนูที่จำเป็นต้องใช้บ่อยๆก็คือ เมนู TUNING ซึ่งเป็นเมนูที่ใช้ทดสอบกำลังส่งของ PA ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มหรือลดระดับกำลังส่ง เราสามารถรู้ได้ทันที่ว่า PA ตัวที่เราทดสอบอยู่นั้นดีหรือไม่โดยใช้คู่กับกล่องวัดสัญญาณ หรือ FIELD STRENGTH METER ซึ่งราคาไม่กี่ร้อยบาท เพียงใช้คำสั่งเพิ่มระดับกำลังส่งขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าเข็มวัดระดับกำลังส่งกระดิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็แสดงว่า PA ทำงานปกติ นอกจากนี้ไฟที่จ่ายออกจาก ไอซี HAGAR ซึ่งไปเลี้ยง PA ( ขยายสัญญาณสำหรับภาคส่ง ) ไฟเลี้ยง LNA ( ขยายสัญญาณจากภาครับ ) ไฟเลี้ยงสวิทช์แอนเทนน่า ( เฉพาะภาคส่งเท่านั้น ) ไฟเลี้ยงวงจรขยายสำหรับ GSM 900 ( เฉพาะระบบ GSM เท่านั้น ) และ ไฟเลี้ยงวงจร DETECT ( ตรวจสอบกำลังส่ง ) ถ้าไม่ใช้ วินเทสล่า สั่งก็จะไม่สามารถทดสอบได้เลยว่ามีไฟออกจาก HAGAR ครบทุกเส้นหรือไม่ แม้แต่ไฟที่ออกจาก COBBA ไปเลี้ยงวงจรใน HAGAR หรือ สัญญาณจาก CPU ไป HAGAR หรือ COBBA ถ้าไม่ใช้ วินเทสล่า สั่งก็จะไม่สามารถทดสอบได้เลยว่าสัญญาณเหล่านี้ออกมาครบหรือถูกต้อง หรือบางครั้งไฟหรือสัญญาณออกมาครบแต่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสัญญาณหรือไฟ เช่น R L C ขาดก็สามารถรู้และแก้ปัญหาได้รวดเร็วและถูกต้อง
เตรียมติดตั้ง ซอฟท์แวร์ วินเทสล่า
ซอฟแวร์ วินเทสล่า มีมาตั้งแต่ปี 1995 แล้วโดยเริ่มแรกใช้สำหรับซ่อมโทรศัพท์มือถือในระบบ อนาลอก ต่อมาก็ใช้ในงานซ่อมโทรศัพท์มือถือระบบ ดิจิตอลและกว่าจะมาถึงในปัจจุบันนี้ก็มีหลายเวอร์ชั่นแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปที่ใช้อยู่ก็จะเป็นเวอร์ชั่น CRACKED หรือ เวอร์ชั่นที่นักพัฒนาซอฟท์แวร์ได้ทำการแก้ไขให้ช่างทั่วๆไปติดตั้งใช้งานได้ง่ายไม่มีอุปกรณ์เสริมหรือเครื่องมือป้องกันใดๆในการเข้าไปใช้ซอฟท์แวร์และที่สะดวกก็คือสามารถดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เน็ตและก็มีเว็บไซต์จำนวนมากให้บริการ ดาวน์โหลดฟรีแต่ในของฟรีก็ย่อมมีข้อเสียคือ วินเทสล่า เวอร์ชั่น CRACKED สามารถวัดได้ในส่วนของระบบ GSM หรือความถี่ในช่วง 900 MHz เท่านั้น ในส่วนของระบบ 1800 หรือ PCN นั้นไม่สามารถวัดได้เลย แต่ก็ยังโชคดีที่สามารถวัดไฟจาก CCONT ที่จ่ายให้กับภาควิทยุหรือ RF ได้ทั้งหมด ถึงแม้จะใช้เวอร์ชั่น CRACKED ก็สามารถซ่อมมือถือในอาการยากๆได้เกือบ 100 % เลยทีเดียว ทีนี้มาดูเวอร์ชั่นเต็มหรือเวอร์ชั่นสมบูรณ์กันบ้างว่าต่างกันอย่างไรเวอร์ชั่นเต็มการติดตั้งจะยุ่งยากกว่ามากหลายขั้นตอนและที่สำคัญก็คือจะต้องมี HARD LOCK หรือ DONGLE หรือเรียกอีกชื่อว่า PKD-1 หรือ PKD-1RD(Research and Development ) ติดตั้งในพอร์ตด้านหลัง ( พอร์ตปริ๊นท์เตอร์ ) ด้วยถึงจะ RUN โปรแกรมได้ ซึ่งในปัจจุบันหายากมากๆ เพราะผลิตออกมาจำนวนจำกัดจากราคาหลักพันบาทตอนนี้ราคาขึ้นเป็น 23 หมื่นบาทแล้ว ข้อดีของ วินเทสล่าตัวเต็มก็คือสามารถวัดทั้งภาครับและส่งในส่วนของระบบ 1800 หรือ PCN ได้ และยังมีเมนูที่มีประโยชน์สำหรับในการวัดอีกหลายเมนูเพิ่มขึ้นมาและ ผู้ที่มี PKD-1 สามารถติดตั้งซอฟท์แวร์ สำหรับซ่อมโทรศัพท์มือถือจอสีของ NOKIA ได้ทุกรุ่นนั่นคือซอฟท์แวร์ ฟีนิกซ์ PHOENIX ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ของ NOKIA เช่นเดียวกันแต่เนื่องจาก PKD-1 ในปัจจุบันแทบจะหาซื้อไมได้แล้วสำหรับท่านที่ต้องการใช้ซอฟท์แวร์ตัวเต็มทั้ง วินเทสล่า และ ฟีนิกซ์ อดใจรอไว้นิดนึง เพราะตอนนี้ทราบข่าวว่ามีผู้ผลิต DONGLE รองรับ ซอฟท์แวร์ ทั้ง 2 แล้ว มีชื่อว่า PHOENIX BLACK BOX แต่ปัจจุบันราคายังสูงมากคาดว่าถ้าเมื่อมีผู้ใช้กันมากขึ้นราคาก็คงจะลดลง ทำความเข้าใจอีกนิดนะครับว่า วินเทสล่า และ ฟีนิกซ์ ใช้สำหรับซ่อมในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ด้วย แต่ที่เรารู้จักกันไม่ว่าจะเป็น กริฟฟิน ทอร์นาโด หรือ ทวิสเตอร์ ใช้สำหรับแก้ไขซอฟท์แวร์เท่านั้นและในการซ่อมซอฟท์แวร์ที่สำคัญก็คือคำสั่ง RUN ENERGY MANAGEMENT CALIBRATION หรือคำสั่งที่ใช้ในการเซตระบบการควบคุมการจ่ายไฟของ CCONT และ UEM ( สำหรับจอสี ) ส่วน กริฟฟิน ทอร์นาโด หรือ ทวิสเตอร์ ไม่สามารถ RUN ENERGY MANAGEMENT CALIBRATION หรือ RUN : EMC ได้
เริ่มติดตั้งซอฟท์แวร์ WINTESLA
เปิดใช้ซอฟท์แวร์ WINTESLA
- เชื่อมต่อสาย ดาต้าลิงค์ หรือ MBUS เข้ากับโทรศัพท์ หรือจิ๊กเทสก์
- เปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือ ( เครื่องต้องเปิดติดเท่านั้น )
กลับด้านบน
หน้าแรก | สินค้า | ความรู้ | เรียนซ่อมมือถือ | ไดอะแกรม | ดาวน์โหลด | ถามตอบ
Phoenix Training Mobile © Copyright 2005
Web Master : wintesla2003@yahoo.com
|