ลองใช้เมาส์ชี้ไปตามขา A0 - A15 ซึ่งแต่ละขาจะมีรูปคลื่ี่นที่แตกต่างกัน

เครื่องเปิดไม่ติด

เกริ่นนำ ...

ทีี่แรกว่าจะไม่ทำบทความนี้ขึ้นมาแล้ว แต่เห็นว่ายังมีคำถามหลายครั้งเกี่ยวกับอาการเปิดเครื่องไม่ติดสำหรับรุ่น 3310 ซึ่งเป็นรุ่นยอดนิยมที่สุดและมีผู้ใช้มากที่สุดปัจจุบัน ทั้งๆที่มี จอสีรุ่นใหม่ๆเข้ามามากมายจนนับรุ่นแทบไม่ทัน ดังนั้นผมจึงจัดทำรายละเอียดและวิธีวัดอย่างชัดเจนในขั้นตอนต่างดังต่อไปนี้

เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการซ่อม

  • จิ๊กเทสต์  (Jig Test)
  • มิเตอร์ดิจิตอล
  • เพาเวอร์ซัพพลาย
  • PC สโคป

เริ่มขั้นตอนการวัดและตรวจเช็ค

1. ตรวจสอบอาการเปิดไม่ติดในเบื้องต้นโดยไม่ต้องขันสกรูออกจากตัวเครื่อง โดยใช้สายคีบ ขั้วบวก(ขา1)  ขั้ว BSI (ขา2)  และขั้วลบ (ขา 4) แต่ถ้าเครื่องกินกระแสผิดปกติไม่ว่าจะเปิดเครื่องติดหรือไม่ติด ให้เข้าไปดูวิธีแก้ปัญหา  เครื่องกินกระแสผิดปกติ

Tips : ขณะที่คีบขั้วบวก BSI และขั้วลบ ให้ระวัง ขาแต่ละขาอาจชอร์ตกันโดยเฉพาะ ขาบวก (ขา1) และ BSI (ขา2) ซึ่งอยู่ติดกันมาก ควรใช้เพาเวอร์ซัพพลายหรือชุดจ่ายไฟที่มีวงจรป้องกันการลัดวงจร (Protect Circuit)
แนวการวิเคราะห์ : ถ้ากระแสไม่มีการเปลี่ยนแปลงแสดงว่าไฟที่ป้อนจ่ายให้กับ CCONT น่าจะปกติ แต่นี่เป็นการวิเคราะห์คร่าวๆ

2. ทดลองกด สวิทช์เปิดเครื่องที่ด้านบน แล้วสังเกตว่าเครื่องเปิดติดหรือไม่ และอีกจุดสำคัญที่ต้องสังเกต ก็คือ เพาเวอร์ซัพพลายที่ด้าน "กระแส" ดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขของกระแสหรือไม่

แนวการวิเคราะห์ : ถ้ากดเปิดเครื่องแล้วกระแสปกติ คือ "0.00" แต่เครื่องเปิดไม่ติด ก็ต้องถอดสกรู แกะแผงวงจรออกมาวิเคราะห์  แต่ถ้าเครื่องเปิดติดเมื่อใช้สายจากซัพพลาย แต่ใช้แบตเตอรี่เปิดไม่ติด ให้ตรวจสอบว่าแบตเตอรี่ผิดปกติหรือไม่ แต่ถ้าแบตเตอรี่ก้อนที่นำมาทดลอง ไปเปิดกับเครื่องอื่นแล้วเปิดติด ให้ลองทำการ Run : EMC หรือ Energy Management Calibration ใน วินเทสล่า ดูก่อน

3. ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นขั้นตอนของการถอดสกรูออกจากตัวเครื่องและนำแผงวงจรไปวิเคราะห์บนจิ๊กเทสต์ ให้วางแผงวงจรและล๊อกขาให้แน่น ส่วนขาที่ล๊อคด้านล่างยังไม่จำเป็นต้องล๊อคก่อนเพราะมีหลายๆจุดตรงบริเวณด้านล่างแผงวงจรเป็นพื้นที่ๆต้องวัดแรงดันไฟ ให้จ่ายแรงดันไฟ 3.6 -3.8 โวลท์ จากเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วบวกและลบของจิ๊กเทสต์โดยใช้ปากคีบ ลองวัดไฟบวก ที่บริเวณ X203 หรือที่หน้าสัมผัสขั้วบวก จะต้องได้แรงดันไฟเท่ากับเพาเวอร์ซัพพลาย

แนวการวิเคราะห์ : ถ้าวัดที่จุดนี้แล้วไม่มีไฟจากขั้วบวก (เลข 1 และ 2) ให้เช็คเข็มที่จิ๊กเทสต์(เลข 3) และแผงวงจรด้านหน้า (ด้านปุ่มกด) ตรงบริเวณรูตาไก่ (เลข 4) ซึ่งจะตรงกันโดยเฉพาะเครื่องที่ถูกน้ำรูตาไก่ตรงจุดนี้มักจะขาดทำให้ไฟบวกที่ผ่านเข็ม จากจิ๊กเทสต์ มาไม่ถึง ขั้วบวกที่ X203 (เลข 5) วิธีการแก้ไขให้ใช้มีดขูดบริเวณขั้วบวกให้เห็นลายทองแดง (A) แล้วบัดกรีเข้ากับสายเส้นเล็กที่มีปากคีบ (ห้ามบัดกรีบริเวณขั้วบวกที่เป็นทองแดงโดยเด็ดขาด) แล้วนำปากคีบไปคีบบริเวณขั้วบวกสำหรับจุดจ่ายไฟเข้าจากเพาเวอร์ซัพพลาย (B) จุดประสงค์ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะว่าต้องการให้ไฟจาก เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายให้กับขั้วบวกให้ได้ เพื่อที่จะทำการวัดไฟในลำดับต่อไป

4. หลังจากที่จ่ายไฟและทดสอบว่ามีไฟจากเพาเวอร์ซัพพลาย หรือ VBATT จ่ายให้กับ ขั้วบวกที่ X203 เป็นที่เรียบร้อย ให้ทำการวัดไฟที่จ่ายผ่าน L513 และ L201 ซึ่งเรียกว่าไฟ VB (ไฟ VBATT ที่มาจากเพาเวอร์ซัพพลายหรือแบตเตอรี่เมื่อผ่าน L513 และ L201 จะมีชื่อเรียกใหม่ว่า VB) และไฟ VB จะต้องจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ดังนี้ คือ กระดิ่ง มอเตอร์สั่น หลอด LED ชุดบน และล่าง ขาที่1 ของไอซี UI SWITCH และที่สำคัญที่สุดคือ CCONT (ดูรูปจุดที่ไฟVB จ่ายไปถึง)

แนวการวิเคราะห์ : ถ้าไฟ VB ไปไม่ถึงอุปกรณ์ตามที่กำหนด ให้เช็คตั้งแต่ขั้วบวก บริเวณ X203 ไปยัง L513 และจาก L513 ไปยัง L201 และจาก L201 ไปยัง หน้าสัมผัสของ VB ทั้งหมด แต่ที่สำคัญที่สุดถ้า VB ไปไม่ถึง CCONT เครื่องเปิดไม่้ติดแน่นอน แต่ถ้า VB ไปไม่ถึง กระดิ่ง มอเตอร์สั่น หลอดไฟ LED หรือ UI SWITCH แ่่ต่ไปถึง CCONT บางทีเครื่องเปิดติดแต่กระดิ่ง มอเตอร์สั่น หรือหลอด LED ไม่ทำงาน และถ้าจุดใดจุดหนึ่งที่กล่าวมาแล้วขาดให้ใช้ลวดอาบน้ำยาเชื่อมต่อจุดที่ขาด

5. จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญเพราะ เมื่อไฟที่ไปเลี้ยง CCONT แล้ว ภายใน CCONT จะจ่ายแรงดันไฟออกจากขา E4 (Pwronx) ผ่าน R224 และ R402 ไปยังสวิทช์ และให้วัดแรงดันไฟที่ไปถึงสวิทช์ที่ขาสวิทช์ด้านล่างขาใดขาหนึ่งก็ได้ ซึ่งจะต้องได้น้อยกว่าแรงดันไฟจาก VBATT นิดหน่อย และลองกดสวิทช์เปิดเครื่องสั้นๆดู ให้สังเกตว่าแรงดันไฟที่วัดได้จากมิเตอร์ตกลงไปที่ "0 โวลท์ "ชั่วขณะ หรือไม่

แนวการวิเคราะห์ : ถ้ากดสวิทช์แล้ว ที่มิเตอร์ไม่ลง "0 โวลท์ " ชั่วขณะหรือไม่้ตอบสนองแรงดันไฟใดๆ ให้เช็คสวิทช์ว่าเสียหรือไม่ และถ้าเช็คสวิทช์แล้วปกติ แต่แรงดันไฟไม่ลงไปที่ "0 โวลท์ "ชั่วขณะ ให้เช็คลายวงจรจาก สวิทช์ ไปยัง R402 (100 โอมห์) และจาก R402 ไปยัง R224 (10 K) (ดูรูป) ถ้าลายไม่ขาด สรุปว่า CCONT เสีย แต่ถ้าจำเป็นต้องยก CCONT ก่อนจะวางตัวใหม่วัดลายวงจรจาก ขา E4 ของ CCONT บนแผงวงจรไปยัง R224 ให้แน่นอนก่อนว่าไม่ขาด (ดูรูป) เพราะถ้าลายวงจรที่ขา E4 วัดแล้วไปไม่ถึง R224 เปลี่ยน CCONT ตัวใหม่ไปก็ไม่มีประโยชน์และอีกจุดที่สำคัญก็คือไฟ VB ที่เข้าไปขา CCONT ทุกขาต้องเชื่อมต่อถึงกันหมด ให้วัดให้แน่นอนก่อนที่จะวาง CCONT ตัวใหม

6. เมื่อเช็คแล้ว สวิทช์ และ CCONT ทำงานได้ตามปกติในส่วนของการเปิดเครื่องลำดับต่อไปต้องเช็คว่า CCONT สามารถจ่ายแรงดันไฟไปเลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆ ในภาคเบสแบนด์ (ฺBaseband) ซึ่งมีอุปกรณ์หลักๆ ดังต่อไปนี้ คือ

  • CPU                       ไฟ VBB (2.8 โวลท์) และ VCORE (1.9 โวลท์)
  • COBBA                 ไฟ VBB (2.8 โวลท์)  VCOBBA (2.8 โวลท์) และ VREF (1.5 โวลท์)
  • FLASH                  ไฟ VBB (2.8 โวลท์)
  • SRAM                   ไฟ VBB (2.8 โวลท์)
  • จอ LCD                ไฟ VBB (2.8 โวลท์)
  • UI SWITCH          ไฟ VBB (2.8 โวลท์)
  • 26 MHz                 ไฟ VTCXO หรือ VXO (2.7 โวลท์)

เริ่มเข้าสู่การวัดแรงดันไฟที่ออกมาจาก CCONT ให้กดสวิทช์เปิดเครื่อง เหมือนตอนเปิดเครื่องจริงๆ คือกดแช่ไว้ชั่วขณะ แล้วใช้มิเตอร์วัดที่จุดต่างๆ ถ้าวัดแล้วไฟไม่ออก ให้กดสวิทช์เปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อ Reset Ccont  โดยปกติถ้าเครื่องเปิดไม่ติด หลังจากกดสวิทช์เปิดเครื่องแล้ว Ccont จะหยุดจ่ายไฟภายใน 15 วินาทีี้

ไฟ VBB (ลูกศรสีแดง)
วัดไฟที่ C119
 
วัดไฟที่ C209 C211
 
วัดไฟที่ C306
 
วัดไฟที่ C311
 
วัดไฟที่ C313
 
วัดไฟที่ C315
 
วัดไฟที่ C317
 
วัดไฟที่ C318
 

ดูรูปตำแหน่งไฟ VBB (ลูกศรสีแดง) รูปใหญ่ แนะนำให้ COPY แล้วดูกับ ACDsee

ไฟ VCORE (ลูกศรสีเขียว)
วัดไฟที่ L200
 
วัดไฟที่ C213 C214
 
วัดไฟที่ C223
 
วัดไฟที่ C305
 
วัดไฟที่ C306
 
วัดไฟที่ C308
 

ดูตำแหน่งไฟ VCORE ( ลูกศรสีเขียว) รูปใหญ่

ไฟ VCOBBA (ลูกศรสีน้ำเงิน)
วัดไฟที่ C109
 
วัดไฟที่ C116
 
วัดไฟที่ C117
 
วัดไฟที่ C207 C208
 

ดูรูปตำแหน่งไฟ VCOBBA (ลูกศรสีน้ำเงิน) รูปใหญ่

ไฟ VREF (ลูกศรสีเหลือง)
วัดไฟที่ C109  
วัดไฟที่ C210  

ดููรูปตำแหน่งไฟ VREF (ลูกศรสีเหลือง) รูปใหญ่

ไฟ VTCXO หรือ VXO

ดูรูปตำแหน่งไฟ VTCXO หรือ VXO (ลูกศรสีม่วง) รูปใหญ่

แนวการวิเคราะห์ : จากการวัดไฟที่ออกจาก CCONT ทุกจุดที่ผ่านมาถ้าวัดได้ตามปกติหรือใกล้เคียงกับค่าที่กำหนดก็ให้วัดจุดอื่นต่อไปเลย แต่ถ้าวัดแล้วไม่ได้ตามที่กำหนด หรือ CCONT ไม่จ่ายไฟออกมาเลย หรือจ่ายไฟไม่ครบตามที่กำหนด หรือจ่ายไฟน้อยกว่าหรือมากกว่าตามที่กำหนด หรือขณะที่กดเพาเวอร์เปิดเครื่องมีไฟออกมาแต่พอหยุดกด ไฟหายทันที สรุปว่า CCONT เสีย แต่เพื่อความมั่นใจก่อนยกวางตัวใหม่ให้เป่า ย้ำที่ CCONT แล้วลองวัดไฟใหม่อีกครั้งถ้าไม่ได้ตามที่กำหนดให้ยก CCONT ออกแล้ววัดลายไฟทุกจุดที่ออกจาก CCONT และถ้าวัดแล้วลายวงจรไม่ขาดก็ให้วาง CCONT ตัวใหม่ และอย่าลืม ! Run : EMC หรือ Energy Management Calibration ทุกๆครั้งที่เปลี่ยน CCONT

7. เช็คไฟ VSRM ที่ขั้ว บวก ของ C219

วัดไฟที่ C219
แนวการวิเคราะห์ : ถ้าหากวัดที่จุดนี้แล้วไฟไม่ออกตามที่กำหนดหรือไม่มีไฟเลย สรุปว่า CCONT เสีย แต่เพื่อความมั่นใจก่อนยกวางตัวใหม่ให้เป่า ย้ำที่ CCONT แล้วลองวัดไฟใหม่อีกครั้งถ้าไม่ได้ตามที่กำหนดให้ยก CCONT ออกแล้ววัดลายไฟทุกจุดที่ออกจาก CCONT และถ้าวัดแล้วลายวงจรไม่ขาดก็ให้วาง CCONT ตัวใหม่ และอย่าลืม ! Run : EMC หรือ Energy Management Calibration ทุกๆครั้งที่เปลี่ยน CCONT

8. เช็คไฟ PURX และ SLEEPX

PURX และ SLEEPX
 
Tips : ไฟ PURX เป็นไฟจาก CCONT จ่ายให้กับ CPU ส่วนไฟ SLEEPX เป็นไฟจาก CPU จ่ายย้อนกลับไป CCONT จะต้องได้แรงดันไฟใกล้เคียงกันทั้ง 2 จุด
แนวการวิเคราะห์ : ถ้าวัดไฟ PURX ไม่ได้ตามที่กำหนด CCONT เสีย แต่ถ้าวัดไฟ SLEEPX ไม่ได้ตามที่กำหนด CPU เสีย แต่ก่อนจะยกวาง CCONT หรือ CPU ให้ทดลองเป่าย้ำอุปกรณ์ตัวใดตัวหนี่งที่มีปัญหาก่อน และถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวใหม่ให้วัดลายวงจรให้แน่นอนก่อนว่าขาดหรือไม่ แล้วค่อยวางตัวใหม่

9. ขั้นตอนนี้เป็นการวัดสัญญาณนาฬิกา หรือวัดความถี่ วัดสัญญาณนาฬิกาของ RTC (Real Time Clock) หรือ 32.768 KHz ที่ C220 โดยใช้ PC สโคป เลื่อนสวิทช์ไปที่ความถี่ต่ำ สำหรับผู้ใช้ออสซิลโลสโคปทั่วไปก็ให้วัดตามปกติ

วัดสัญญาณนาฬิกาที่ C220

10. วัดสัญญาณนาฬิกาหรือความถี่ 26 MHZ หรือ System Clock ที่ขา 3 ของ G502 และที่มุมซ้ายล่างของ HAGAR โดยใช้ PC สโคป ปรับไปที่ความถี่สูง สำหรับผู้ใช้ออสซิลโลสโคปทั่วไปก็ให้วัดตามปกติ

วัดสัญญาณนาฬิกา 26 MHz
 
แนวการวิเคราะห์ : ถ้าสัญญาณนาฬิกาวัดไม่ออก ให้เช็คที่ขา 2 ของ G502 จะต้องมีไฟประมาณ 2.65V และถ้าวัดแล้วไฟปกติตามกำหนด สรุปว่า 26 MHz หรือ G502 เสีย แต่ถ้าวัด 26 MHz ที่ขาของ G502 และที่ C546แล้วมีสัญญาณ แต่ที่รูตาไก่ข้าง HAGAR ไม่มีสัญญาณ สรุปว่าลายวงจรขาด

11. วัดสัญญาณนาฬิกา 13 MHz (RFC) ที่เกิดจากการหาร 2 ของ 26 MHz ใน HAGAR โดยใช้ PC สโคป ปรับไปที่ความถี่สูง สำหรับผู้ใช้ออสซิลโลสโคปทั่วไปก็ให้วัดตามปกติ

วัดสัญญาณนาฬิกา 13 MHz
 
แนวการวิเคราะห์ : ถ้าวัดสัญญาณนาฬิกา 13 MHz ไม่ออกเลย ตั้งแต่ที่ ขา C(Collector) ของทรานซิสเตอร์ V502 สรุปว่าถ้าลายวงจรไม่ขาด HAGAR เสีย แต่ถ้าวัด13 MHz ที่ขา C ของ V502 และ L511 ได้ แต่ที่ C303 ทั้ง 2 ขา วัดไม่ได้ ให้วัดลายวงจรจาก L511 ไปยังขาข้างขวาของ C303 ว่าขาดหรือไม่ ถ้าขาดให้ใช้ลวดอาบน้ำยาต่อให้เรียบร้อย
Tips : ในการวัดอาการเปิดเครื่องไม่ติด โดยการใช้ PC สโคป ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณนาฬิกา 32.768 KHz หรือ 13 และ 26 MHz รูปคลื่นในจอคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอาจจะไม่เหมือนกัน เหตุเพราะว่าแต่ละเครื่องอาจจะใช้ การ์ดเสียง การ์ดแสดงผล และความเร็วของ CPU ที่แตกต่างกัน แต่เทคนิคง่ายๆ ที่สุดให้เราวัดจากเครื่องที่ดีก่อน และสังเกตรูปคลื่นหรือเสียง ถ้านำเครื่องที่ดีมาวัด ไม่ว่าจะกี่เครื่องรูปเครื่องก็จะต้องได้เหมือนกันทุกๆเครื่อง แต่ถ้าเครื่องที่มีปัญหารูปคลื่นจะแสดงผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าเราจะใช้ ออสซิลโลสโคปชนิดตั้งโต๊ะ ในราคาระดับใดก็แล้วแต่ ในการวัดก็ต้องอาศัยการจำรูปคลื่นจากเครื่องที่ดีเป็นหลักเช่นเดียวกัน

12. ถ้าหากวัดได้ทุกจุดตรงตามที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นแรงดันไฟ หรือ สัญญาณนาฬิกา แต่เครื่องยังเปิดไม่ติดให้ลองทำการแฟลชโปรแกรม โดยใช้ โปรแกรมกล้วยหอม Nokia Flasher 478b6 หรือ GEO Flash และถ้าแฟลชได้ปกติ ก็ให้ทำการ UPDATE โดย Nok Tool 17 หรือ 18

 
 
แนวการวิเคราะห์ : ถ้าแฟลชโปรแกรมเข้าไปแล้วเครื่องยังเปิดไม่ติด อุปกรณ์์ที่เป็นปัญหา หลักๆก็มีอยู่ 3 ตัว (เรียงตามลำดับที่เสียบ่อย ) คือ แฟลช แรม และ CPU ถ้าจำเป็นต้องยกแฟลชออก ก่อนที่จะวางเพื่อความรอบคอบให้ วัดไฟที่ขา F5 และ E1 ของแฟลชบนแผงวงจรด้วยว่ามีไฟ VBB 2.8 V โดยประมาณ มาถึงหรือไม่ ถ้าไม่มีไฟไปเลี้ยงแฟลชเครื่องก็เปิดไม่ติด และที่สำคัญก็คือวัดสัญญาณจาก CPU มาที่แฟลช ตามขา ADDRESS ที่ A0-A15 โดยใช้ PC สโคป สังเกต รูปคลื่นและสัญญาณเสียงแต่ละขา ถ้าไม่มีรูปคลื่น หรือสัญญาณเสียงแต่ละขาออกมา แสดงว่า CPU เสีย
Tips : รูปคลื่นในจอคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอาจจะไม่เหมือนกัน เหตุเพราะว่าแต่ละเครื่องอาจจะใช้ การ์ดเสียง การ์ดแสดงผล และความเร็วของ CPU ที่แตกต่างกัน แต่เทคนิคง่ายๆ ที่สุดให้เราวัดจากเครื่องที่ดีก่อน และสังเกตรูปคลื่นหรือเสียง ถ้านำเครื่องที่ดีมาวัด ไม่ว่าจะกี่เครื่องรูปเครื่องก็จะต้องได้เหมือนกันทุกๆเครื่อง แต่ถ้าเครื่องที่มีปัญหารูปคลื่นจะแสดงผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าเราจะใช้ ออสซิลโลสโคปชนิดตั้งโต๊ะ ในราคาระดับใดก็แล้วแต่ ในการวัดก็ต้องอาศัยการจำรูปคลื่นจากเครื่องที่ดีเป็นหลักเช่นเดียวกัน

 

Phoenix Training Mobile © Copyright 2005

Web Master :    wintesla2003@yahoo.com

 

้้้