การใช้วินเทสล่ากับ PC SCOPE
บทความนี้มีการเรียกร้องเข้ามามากให้ทำวิธีการวัด PC SCOPE กับ วินเทสล่า แต่ต้องขอเกริ่นก่อนว่าผมจะไม่แนะนำวิธีปรับแต่งหรือ CALIBRATE เีนื่องจากต้องใช้เครื่องมือช่วยเพิ่มขึ้นมาคือ RF GENERATOR และ SPECTRUM ANALYSER ซึ่งทั้ง 2 ตัวราคาหลักล้าน แต่เราจะใช้วิธีัวัดเพื่อเอาไปใช้แก้ปัญหาให้ตรงจุดว่าอุปกรณ์ตัวใหนเสียหรือมีปัญหา และจะได้เข้าไปแก้ปัญหาให้ถูกจุดอย่างรวดเร็วและแม่นยำ
เครื่องมือ ซอฟท์แวร์ และอุปกรณ์
- ซอฟท์แวร์ " วินเทสล่า " (สำหรับทดสอบและกำหนดคำสั่ง)
- ซอฟท์แวร์ " PC สโคป " (สำหรับวัดความถี่ รูปคลื่น แสดงผลทางหน้าจอ PC)
- ซอฟท์แวร์ " ACDsee " (สำหรับดูรูปและตำแหน่งของอุปกรณ์ที่จะวัด)
- PC SCOPE (เครื่องมือสำหรับวัดความถี่ รูปคลื่น)
- สายดาต้าลิงค์ MBUS (สายเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างจิ๊กเทสท์กับคอมพิวเตอร์)
- จิ๊กเทสท์
- ชุดจ่ายไฟหรือเพาเวอร์ซัพพลาย
- มิเตอร์ดิจิตอล (แนะนำแบบ Auto Range)
- มิเตอร์วัดกำลังส่ง หรือ Field Strength Meter
- แผงวงจร Nokia 3310 (สำหรับการฝึกวัดควรใช้ิิแผงวงจรที่ดีใช้งานได้)
คำแนะนำ
ควรทดสอบหรือฝึกหัดโดยการใช้เครื่องที่ดีก่อนเพื่อฝึกจำรูปคลื่น สัญญาณเสียง และแีรงดันไฟในระดับที่แตกต่างกัน เมื่อซ่อมเครื่องจริงที่มีปัญหาจะได้เปรียบเทียบได้ถูกว่าเครื่องดีและเสียมีึความแตกต่างกันอย่างไร และ ข้อควรระวัง! ขณะที่วัดไม่ควรให้สายโพรบของ PC สโคป หรือ สายวัดของมิเตอร์สัมผัสกับกราวน์ (เช่น ขา C ด้านไฟลบ หรือกรอบเหล็กหรือซิงค์ ซึ่งเป็นกราวน์) เพราะจะทำให้เครื่องดับหรือวินเทสล่า Error ไม่ต้องกังวลเครื่้องไม่เสีย แต่จะเสียเวลาเข้า วินเทสล่าใหม่อีกครั้ง หรือไม่ก็อาจจะต้อง Shut Down/Restart เครื่ิองคอมพิวเตอร์ใหม่ทำให้เสียเวลาในการวัด แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป
การเตรียมข้อมูล
จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญมากที่ผู้ซ่อมจะละเลยไม่ได้ เพราะเราจะเอาช่องสัญญาณจากเครือข่ายหรือ Cellsite จริงๆที่อยู่ใกล้จุดที่เราซ่อมมากที่สุดมาป้อนข้อมูลใน วินเทสล่า ซึ่งต้องใช้ซอฟท์แวร์ Noktool 17b หรือ Logo Manager เข้ามาค้นหาช่องสัญญาณเนื่องจากการซ่อมโทรศัพท์ให้รวดเร็วและวิเคราะห์อาการเสียในภาควิทยุหรือภาคที่เกี่ยวกับสัญญาณจะต้องวัดสัญญาณจากภาครับ(RX) ให้ได้ก่อนถึงจะไปดูปัญหาในภาคส่ง (TX) เพราะถ้าภาครับมีปัญหาภาคส่งก็ไม่สามารถใช้งานได้และใน วินเทสล่า สามารถแยกการวัดทั้งภาครับและส่งโดยเด็ดขาด ดูรายละเอียดและขั้นตอนปฎิบัติได้ดังนี้
การติดตั้งและการใช้งาน Net Monitor ใน Noktool 17b
ข้อแนะนำเพิ่มเติม : สำหรับท่านที่ไม่มี PKD-1 ดองเกิล หรือ Phoenix Black Box ให้ใช้ วินเทสล่า Cracked ซึ่งสามารถวัดสัญญา๊ณเฉพาะระบบ GSM ได้เท่านั้น ดังนั้นในการค้นหาช่องสัญญาณในลำดับต่อไปนี้ให้ใช้ ซิมการ์ด ระบบ GSM ทดสอบเท่านั้น
หลังจากเซ๊ต Net Monitor เข้าไปในมือถือแล้วก็จะปรากฎเมนูใหม่ ดังนี้
เลือกเมนูนี้แล้วใส่เลข 01
หน้าจอจะแสดงช่องสัญญาณที่ใกล้กับมือถือที่เราทดสอบมากที่สุด(ช่อง 1- 124) สำหรับระบบ GSM เท่านั้น ให้จำเลขช่องสัญญาณนี้ไว้ให้ดีแต่ละพื้นที่จะมีช่องสัญญาณไม่เหมือนกันเีพราะเลขช่องสัญญาณที่ได้นี้จะเอาไปกำหนดช่องสัญญาณในวินเทสล่า และในการเช็คช่องสัญญาณจะกระทำเพียงครั้งเดียวครั้งต่อไปในการซ่อมอาการเกี่ยวกับสัญญาณไม่จำเป็นต้องเข้ามาเช็คอีกยกเว้นว่าเราย้ายตำแหน่งการซ่อมไปที่อื่นๆ
หมายเหตุ เมื่อทดสอบได้ช่องสัญญาณที่ต้องการแล้วจะออกจากเมนู Net Monitor ให้ใส่เลข 00 แล้วกด OK ที่มือถือ
การใช้ PC SCOPE ในการวัดเครื่องที่มีปัญหาเรื่องสัญญาณ
- แกะเครื่องวางแผงวงจรไว้บน จิ๊กเทสท์ ล๊อกขาให้เครื่องให้อยู่ในตำแหน่งที่มั่นคง
- ปรับแรงดัันไฟที่ชุดจ่ายไฟหรือเพาเวอร์ซัพพลาย ประมาณ 3.6-3.8 โวลท์
- ใช้ปากคีบขั้วบวกและขั้วลบที่จิ๊กเทสท์ เปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือ ( การใช้วินเทสล่ามือถือต้องเปิดติดเท่านั้น)
- ต่อสาย MBUS เข้ากับจิ๊กเทสท์ ถ้่าจิ๊กเทสท์ที่ซื้อมาไ่ม่มี สายพ่วงระหว่างจิ๊กเทสท์กับสาย MBUS ให้ซื้อมาใส่มิฉะนั้นจะเชื่อมต่อข้อมูลไม่ได้
- เปิดซอฟท์แวร์สโคป ตั้งเสียงที่ซาวด์การ์ดให้เรียบร้อย ดูวิธีตั้งเสียงซาวด์การ์ด
- เปิดสวิทช์สโคป เลื่อนสวิทช์สโคปไปที่ความถี่ต่ำ
- เปิดซอฟท์แวร์ ACDsee เพื่อดูตำแหน่งจุดวัดต่างๆในรูป (แนะนำให้ Save รูป 1 2 3 4 5 เก็บไว้แล้วเปิดดูกับ ACDsee ) โดยปกติซอฟท์แวร์ ACDsee ส่วนใหญ่จะติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ลงโปรแกรมครั้งแรก ที่ให้ดูรูปจุดวัดต่างๆใน ACDsee ก็เพราะว่า ACDsee สามารถใช้ Handtool หรือเลือกคำสั่งเป็นรูปมือเพื่อเลื่อนหาตำแหน่งจุดวัดบนแผงวงจรในรูปได้ง่าย
- เปิดซอฟท์แวร์วินเทสล่า ที่เดสก์ทอป
9. คลิก Cancel
10. เลือก Product และ Open...
11. เลือก NSB-3 แล้วคลิก OK (NSB-3 ใช้ได้กับ Nokia รุ่น 2100 3210 3310-3350 3610 5210 6210 7110 8210 8250 8850 )
12. ถ้าต่อสาย MBUS ถูกต้องหน้าจอจะเปลี่ยนเป็นพื้นสีขาว และปรากฎเมนูเพื่มขึ้นมา
13. เลือก Testing และ RF Controls...
14. เลือกใ่ส่ข้อมูลตามกำหนดด้านล่าง สำหรับช่องสัญญาณให้ใส่ตามการทดสอบใน Net Monitor และหลัง จาก เลือก Mode ต่างๆ แล้วให้คลิก Apply
15. จุดนี้สำคัญมากเราจะเอากรอบของ PC สโคป กรอบของ วินเทสล่า และกรอบของ ACDseeให้รวมอยู่ในหน้าเดสก์ทอปหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์หน้าเดียวกันเพื่อความสะดวกของผู้ใช้โดยที่ PC สโคปไว้สำหรับอ่านรูปคลื่น วินเทสล่าไว้กำหนดคำสั่ง และ ACDsee ไว้สำหรับเลื่อนภาพแผงวงจรซึ่งเป็นจุดวัด ต่างๆ โดยผู้ใช้สามารถใช้เครื่องมือ Handtool หรือรูปมือเลื่อนไปมาหาตำแหน่งจุดที่จะวัดได้อย่างรวดเร็วสำหรับกรอบของ PC สโคป ไม่สามารถย่อได้ กรอบของวินเทสล่าและ ACDsee สามารถกำหนดขนาดการย่อ บนเดสก์ทอปหรือหน้าจอได้ตามต้องการ ดูตัวอย่างการวางกรอบที่รูปด้านล่าง
เริ่มต้นวัดจุดต่างๆบนแผงวงจร และการกำหนดคำสั่งใน วินเทสล่า
1. หลังจากกำหนดช่องสัญญาณและเลือกคำสั่งต่างๆตามรูปด้านล่างแล้วให้ใช้สโคปวัดที่ R504 บริเวณรูตาำำไก่ จุดนี้จะเป็นการวัดสัญญาณ IQ ที่ออกมาจาก Hagar สังเกตรูปคลื่นและฟังเสียงสัญญาณ โดยเอาเมาส์ชี้ไปที่รูปลำโพง (เสียงสัญญาณจะหยุดเองโดยอัตโนมัติ) แต่ในการวัดจริงๆถ้าไม่เอาโำำพรบหรือสายวัดออกสัญญาณก็จะดังต่อเนื่อง รูปคลื่นทุกรูปที่วัดได้ให้เปรียบเทียบกับเครื่องดี และแต่ละคอมของผู้ใช้อาจจะำำได้รูปคลื่นที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ CPU เมนบอร์ด และ ซาวด์การ์ด
|
|
|
ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังใ้่้ห้จบ) |
Tips : ถ้าวัดสัญญาณได้แล้วทดลองเปลี่ยนช่องที่ไม่ตรงกับที่อ่านได้ใน Net Monitor แล้วสังเกตรูปคลื่นและสัญญา๊๊ณเสียง และตรงช่อง AGC Absolute: ลองเปลี่ยนเลขไปที่ 151,150,149,148 ตามลำดับแล้ว สังเกตรูปคลื่นและสัญญา๊๊ณเสียง |
แนวทางวิเคราะห์ : ถ้าวัดที่จุดนี้แล้วไม่มีรูปคลื่นหรือสัญญาณเสียง ภาครับมีีปัญหาแน่นอน แต่จะเป็นปัญหาที่จุดใหน ให้เช็ค ตั้งแต่ข้อที่ 2 เป็นต้นไป
|
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม
2. อีกจุดหนึ่งที่จำป็นต้องวัดคือ สัญญาณ I Data และ Q Data ซึ่งเป็นสัญญาณจาก Cpu ไป Cobba ที่จุด TestPoint โดยเข้า วินเทสล่า ตามคำสั่งด้านล่างในช่อง Channel ไม่ต้องกำหนดเลขช่องสัญญาณ ( เป็นเลขอะไรก็ได้ แนะนำให้ใส่เลข 38 )
|
|
|
ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ) |
Tips : ถ้าข้อที่ 1. และ ข้อที่ 2. วัดได้ตามที่กำหนด ก็สรุปได้ว่าภาครับทำงานปกติ ให้เข้าไปดูการวัดในภาคส่งได้เลย แต่ถ้าต้องการฝึกทักษะเพื่อให้ชำนาญก็สามารถวัดต่อจนจบขั้นตอนได้ |
แนวทางวิเคราะห์ : ถ้าวัดที่จุดนี้แล้วไม่มีรูปคลื่นหรือสัญญาณเสียง ให้เช็ค Cpu และ ถ้า Cpu ไม่เสียลายวงจรอาจจะขาด |
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม
3. วัด AFC หรือ Auto Frequency Control ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความถี่ของ 26 MHz ให้คงที่ ซึ่งสามารถทดสอบได้ 2 วิธี คือ
3.1 การวัดโดยสังเกตรูปคลื่นและการสังเกตสัญญาณเสียงจาก PC สโคป
กลับไปที่หน้า RF Control และเลือกคำสั่ง ใส่่ค่าต่างๆ ตามรูปด้านล่าง ทีี่ช่อง AFC ให้ใส่เลข " 0 " และ ทุกๆครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล อย่าลืมคลิก Apply
|
|
ในช่อง AFC ให้ใ่ส่เลข "0" วัดโดยใช ้สโคป ที่ RX IP และ RX QP ตามรูปด้านบน ดูรูปคลื่น และฟังเสียงสัญญาณ |
|
|
ในช่อง AFC ให้ใ่ส่เลข " -1024 " วัดโดยใช ้สโคป ที่ RX IP และ RX QP ตามรูปด้านบน ดูรูปคลื่น และฟังเสียงสัญญาณ |
|
|
ในช่อง AFC ให้ใ่ส่เลข " 1023 " วัดโดยใช ้สโคป ที่ RX IP และ RX QP ตามรูปด้านบน ดูรูปคลื่น และฟังเสียงสัญญาณ |
ดูรูปคลื่นและสัญญาณเสียงจากข้อ 3.1 ถ้าเราวัดโดยต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงค่า AFC ให้ทั้ง 3 ค่าคือเริ่มต้นจากค่า " 0 " และ "-1024 " และ " 1023 " โดยที่ไม่ต้องยกสายวัดออกจากตำแหน่งที่วัด จะได้ยินเสียงสัญญาณที่แตกต่างกันถึง 3 ระดับ ( ที่จุดนี้ขณะที่ทดสอบการฟังเสียงจะใช้เวลานานประมาณ ครึ่งนาที)
|
ทดลองฟังเสียงที่จุดนี้จะสังเกตว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียง เป็นเพราะว่าเมื่อกำหนดค่า AFC ที่แตกต่างกันระดับเสียงจะเปลี่ยนไป (กรุณาฟังให้จบ) |
3.2 การวัดแรงดันไฟในระดับที่แตกต่างกัน
ที่จุดนี้เราจะใช้คำสั่งใน วินเทสล่า เหมือนเดิม แต่ตำแหน่งการวัดจะเปลี่ยนไป และจะเปลี่ยนจากการวัดโดยฟังเสียงสัญญาณและดูรูปคลื่นเป็น การวัดแรงดันไฟโดยใช้มิเตอร์ดิจิตอล สังเกตว่าเมื่อเปลี่ยนค่า AFC แรงดันไฟก็จะเปลี่ยนไปตามค่าต่างๆ อาิืทิเช่นค่า AFC สูงขึ้นแรงดันไฟจะสูงขึ้น ถ้าค่า AFC ที่กำหนดลดลงค่าแีรงดันไฟก็จะลดลงเช่นกัน
การกำหนดค่า AFC จะถูกกำหนดใน วินเทสล่า ดังนั้นถ้าใส่ค่า AFC น้อยกว่า -1024 หรือเกินกว่า 1023 วินเทสล่าจะฟ้องกรอบข้อความขึ้นมาตามนี้ เราสามารถทดลองเปลี่ยนค่า AFC ตามต้องการได้แล้วสังเกตแรงดันไฟในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องใส่เลข -1024 หรือ 1023 เสมอไป เราจะใส่เลขอะไรก็ได้แต่ที่สำคัญจะต้องทดสอบค่า AFCที่ต่ำสุดและสูงสุดเสมอเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการวัด
แนวทางการวิเคราำะห์ : ถ้าวัดจุดนี้แล้ว ไม่ได้ตามที่กำหนดให้เช็คตั้งแต่ C552 R522 และลายวงจร ถ้าลายวงจรไม่ขาด R,C ไม่เสียลองเป่าลมร้อนย้ำืที่ Cobba ก่อน ถ้าทำแล้วไม่ได้ผล ก็สรุปว่า Cobba เสียแต่ถ้าจำเป็นต้องยก Cobba ก่อนจะวางตัวใหม่ให้เช็คลายใต้ขา IC ก่อน |
ดูรายละเิอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม
4. เช็คไฟเลี้ยงภาควิทยุ (RF) ทั้งหมดที่มาจาก CCONT ตามลำดับ แต่การจะวัดไฟทั้งหมดทุกจุดได้จะต้องใช้คำสั่งใน วินเทสล่า ในเมนู RF Controls ตามคำสั่งด้านล่างในช่อง Channel ไม่ต้องกำหนดเลขช่องสัญญาณ ( เป็นเลขอะไรก็ได้ )
การวัดไฟที่จุดนี้เหมือนกับภาคส่ง (TX) ทุกประการ
|
คำสั่งนี้ใช้วัดไฟ ตามรายละเอียดด้านล่างได้ทั้งหมดทุกจุด |
วัดไฟ Vrxrf (VRX) ที่ C 500 และ C 503
วัดไฟ Vsynte (VSYN2) จุดที่ 1 ที่ C 501 และ C 502
วัดไฟ Vsynte (VSYN2) จุดที่ 2 ที่ C 504
วัดไฟ Vsynte (VSYN2) ผ่าน R 533 ด้่านขวา R 533 ที่ด้่านซ้ายวัดไฟได้เท่ากับ C 504
วัดไฟ Vref_2 ที่ C 535,536 ผ่าน R 509
วัดไฟ VCP ที่ C 234 จ่ายให้กับ ไอซี เรกกูเลท N503
วัดไฟ Vcos (VSYN 1) ที่ C 239 จ่ายให้กับ VCO ที่จุดนี้เป็นไฟที่ยังไม่ผ่าน R 202
วัดไฟ Vcos (VSYN 1) ที่ C 522 จ่ายให้กับ VCO ที่จุดนี้เป็นไฟที่ผ่าน R 202 แล้ว
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดจุดนี้ทั้งหมดแล้วไม่ได้ตามที่กำหนด สรุปว่า CCONT เสีย แต่ก่อนจะยก CCONT ลองเป่าลมร้อนย้ำแล้ววัดไฟอีกครั้ง และถ้า CCONT เสียจริง หลังจากยก CCONT ออกแล้วให้วัดลายวงจรให้แน่ใจก่อนว่าลายทุกเส้นไม่ขาดหรือชอร์ต เมื่อวาง CCONT ตัวใหม่ และใช้งานได้แล้ว อย่าลืม Run EMC หรือ Energy Management Calibration กับวินเทสล่าด้วย ! |
วัดไฟ Vchp ที่ C 505 จ่ายให้กับ Hagar เป็นไฟที่มาจาก ไอซี เรกกูเลท N 503
วัดไฟ Hagar Reset ที่รูตาไก่
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดจุดนี้แล้วไม่ได้ตามที่กำหนดทั้ง 2 จุดตามรูปด้านบน สรุปว่า ถ้่าลายไม่ขาด ไอซี เรกกูเลท N 503 เสีย แต่ถ้าวัดไฟ Hagar Reset ไม่ได้ ให้ดู R 510 และ R 516 ถ้า R ทั้ง 2 ตัวนี้ปกติ และลายวงจรจาก CPU ไป Hagar ไม่ขาด สรุปว่า CPU เสีย |
วัดไฟ Vref_rx ที่ C 529 ผ่าน R 507 จาก COBBA จ่ายให้กับ HAGAR
Tips : หลังจากวัดโดยใช้วินเทสล่าแล้วลองออกจากวินเทสล่าแล้วทดลองวัดไฟใหม่อีกครั้งที่จุดที่เคยวัดผ่านมา จะสัังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเกือบทุกจุดไม่สามารถวัดไฟได้ตามที่กำหนด ยกเว้นไฟ VCP |
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดจุดนี้แล้วไม่ได้ตามกำหนด ให้เช็ค R 507 และถ้าเช็คแล้วปกติ ลายไม่ขาด ก็สรุปว่า COBBA เสีย แต่ก่อนจะยก COBBA ลองเป่าลมร้อนย้ำแล้ววัดไฟอีกครั้ง และถ้า COBBA เสียจริง หลังจากยก COBBA ออกแล้วก่อนวาง COBBA ตัวใหม่ ให้วัดลายวงจรให้แน่ใจก่อนว่าลายทุกเส้นไม่ขาดหรือชอร์ต |
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม
5. เช็คสัญญาณและแรงดันไฟจาก CPU มา HAGAR ซึ่งเป็น Bus Interface
|
คำสั่งนี้ใช้วัดไฟ ตามรายละเอียดด้านล่างได้ทั้งหมดทุกจุด |
วัดไฟ Hagar Reset ที่รูตาไก่
วัดไฟ Hagar Enable ที่รูตาไก่
วัดสัญญาณ Hagar Clock ที่ Rคู่ 301 โดยใช้สโูคป
|
ที่จุดนี้เมื่อวัดโดยการใช้ PC สโคป เครื่องอาจจะดับได้ ( เพราะ CPU มีการตอบสนองความไวที่จุดนี้สูงมาก) แต่เครื่องไม่เสีย เปิดเครื่องใหม่ก็ปกติ |
|
วัดสัญญาณ Hagar Data ที่รูตาไก่ข้าง Hagar
แนวทางการวิเึึคราะห์ : ถ้าวัดจุดนี้แล้วไม่ได้ตามกำหนด ถ้าลายวงจรไม่ขาด และ R 510 R 516 และ R 301 ไม่เสีย และลายจาก CPU ไป Hagar ไม่ขาด สรุปว่า CPU เสีย |
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเืติม
6. วัดไฟที่มาจากวงจร ชาร์จปั๊ม ใน Hagar ที่จ่ายให้กับ VCO ซึ่งไฟนี้มีหลายระดับในการวัดแต่ในตัวอย่างที่นำเสนอนี้จะให้วัดแรงดันไฟที่ต่ำสุดและสูงสุด โดยกำหนดคำสั่งตามรูปด้านล่าง
วัดไฟที่ C 558 ในช่อง Channel ให้ใส่เลข " 1 " แล้วคลิก Apply สังเกตเลขด้านหลัง 935.200000 MHz คือความถี่ของช่องสัญญาณ เลขช่องสัญญาณเพิ่มมากขึ้น ความถี่ก็จะสูงขึ้นตามลำดับ
วัดไฟที่ C558 ในช่อง Chennel ให้ใส่เลข " 124 " แล้วคลิก Apply สังเกตเลขด้านหลัง 959.800000 MHz คือช่ิองสัญญาณของภาครับที่สูงที่สุด
Tips : ทดลองเพิ่มช่องสัญญาณทีละช่องสังเกตความถี่จะเปลี่ยนไป และ แรงดันไฟจะเพิ่มขึ้นทีละนิด แต่ในการกำหนดช่องสัญญา๊๊ณจะกำหนดได้สูงสุดไม่เกิน 124 ช่อง ถ้าใส่เกิน วินเทสล่าจะฟ้องกรอบดังรูปด้านล่าง |
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดจุดนี้แล้วไม่ได้ตามที่กำหนด ถ้าลายวงจรไม่ขาด วงจรชาร์จปั๊มใน Hagar เสีย หรือในบางครั้งถ้าวัดได้ 4 โวลท์กว่าๆ หรือ เพิ่มเลขช่องสัญญาณแล้ว แรงดันไฟไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่า Loop ในวงจรชาร์จปั๊มเสียปรับระดับไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยน Hagar แต่ถ้าวัดที่ C 558 แล้วปรับระดับได้แต่แรงดันไฟต่ำกว่าปกติ VCO เสียหรือชอร์ต |
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม
7. วัดไฟ ที่มาจาก Hagar (BB1 I และ BB1 Q) ที่ C 508 ทั้ง 4 ขา ยังไม่ต้องเปลี่ยนคำสั่งในวินเทสล่า
ที่จุดนี้บางเครื่องอาจจะวัดไฟได้ 1.7 - 1.8 V
|
|
|
|
วัดทั้ง 2 ขาด้านซ้าย |
วัดทั้ง 2 ขาด้านขวา |
|
Tips : หลังจากที่วัดแรงดันไฟได้ตามที่กำหนดแล้ว ทดลองเปลี่ยนคำสั่ง ในช่อง Active Unit ให้เปลี่ยนจาก RX เป็น TX โดยที่ไม่ต้องยกเข็มออกจากตำแหน่งของการวัดที่ C 508 ให้สังเกตว่าแรงดันไฟจะลดลงทันที และเลือก RX ใหม่อีกครั้งแรงดันไฟจะกลับมาเหมือนเดิม |
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดแรงดันไฟไม่ได้ตามที่กำหนด แสดงว่า วงจร BB_GAIN ใน Hagar เสีย แต่ก่อนจะเปลี่ยน Hagar ตัวใหม่ ให้วัดค่าความต้านทานของ R 500 ทั้ง 4 ตัวก่อนว่าค่าความต้านทานถูกต้องหรือไม่ และ ถ้าลายวงจรที่จุดนี้เข้าไปใน Hagar ไม่ขาด สรุปว่า Hagar เสีย |
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม
8. วัดสัญญาณ จาก Hagar ไป LNA และจาก บาลันมา Hagar ทั้ง 3 จุด วัดโดย PC สโคป สังเกตรูปคลื่นและเสียง
วัดโดยใช้ PC สโคป ที่ R 514 วัดทั้ง 2 ขา
|
|
|
|
ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ)
|
|
|
วัดโดยใช้ PC สโคป ที่ L 506 วัดทั้ง 2 ขา
|
|
|
|
ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ) |
|
|
วัดโดยใช้ PC สโคป ที่ L 504 ทั้ง 2 ขา
|
|
|
|
ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ)
|
|
|
Tips : ขณะที่วัดทั้ง 3 จุดนี้ทดลองเปลี่ยนจาก RX ไป TX แล้วกลับมาที่ RX อีกครั้ง ในช่อง Active Unit แล้วลองสังเกตสัญญาณเสียงและรูปคลื่น |
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดสัญญาณตามที่กำหนดไม่ได้ ลายวงจรไม่ขาด R 514 L 504 L 506 ปกติ ก็สรุปว่าวงจร RF Control ใน Hagar เสีย ทดลองเป่าลมร้อนย้ำ Hagar แล้วลองวัดใหม่ ถ้าไม่ได้ และจำเป็นต้องเปลี่ยน Hagar ก่อนเปลี่ยนวัดลายวงจรจาก Hagar ไป R 514 L 504 L 506 ก่อนที่จะวาง Hagar ตัวใหม่ |
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม
9. วัดสัญญาณ RX IQ DTOS และ BIQUAD ที่ C 512 ทั้ง 8 ขา วัดโดย PC สโคป สังเกตรูปคลื่นและเสียง
วัดโดยใช้ PC สโคป ที่ C 512 ทั้ง 8 ขา
Tips : ขณะที่วัดให้สังเกตว่า 4 ขาด้านซ้ายของ C 512 สัญญาณเสียงจะดังกว่า 4 ขาด้านขวา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ |
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดสัญญาณตามที่กำหนดไม่ได้ โดยเฉพาะที่ C 512 ถ้าวัดสัญญาณได้เพียงข้างเดียวสรุปว่า C 512 เสียแต่ถ้าวัดทุกขาทั้ง 8 ขาแล้วไม่มีสัญญา่ณ สรุปว่า วงจร DTOS และ BIQUAD ใน Hagar เสียทดลองเป่าลมร้อนย้ำ Hagar แล้วลองวัดใหม่ ถ้าไม่ได้ และจำเป็นต้องเปลี่ยน Hagar ก่อนเปลี่ยนวัดลายวงจรจาก Hagar ไปที่ C 512 ทุกขา ก่อนที่จะวาง Hagar ตัวใหม่ |
ดูรายละเีอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม
10. วัดสัญญาณ IQ ที่มาจากวงจร DNC2 ผ่าน C 514 และ C 526 วัดโดย PC สโคป สัังเกตรูปคลื่นและเสียง
วัดโดย PC สโคป ที่ C 514 ทั้ง 4 ขา และที่ C 526 ทั้ง 4ขา
Tips : ขณะที่วัดที่ C 526 ที่ขาด้านซ้ายทั้ง 2 ขาจะวัดได้สัญญาณเสียงที่แรงกว่าขาด้านขวาทั้ง 2 ขา และที่ C 514 สัญญาณที่ขาด้านซ้ายและด้านขวาสัญญาณเสียงจะแรงมาก สัังเกตรูปคลื่นถ้าสัญญาณเสียงแรงรูปคลื่นจะเข้มมากถ้าสัญญาณเสียงเบารูปคลื่นจะจางกว่าหรือบางกว่า |
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดสัญญาณที่กำหนดไม่ได้ เพียงบางขาไม่ว่าจะเป็น C 514 หรือ C 526 แสดงว่า C ตัวที่วัดอยู่นั้นเสีย แต่ถ้าวัดไม่ได้เลยทุกขาแสดงว่าวงจร DNC2 ใน Hagar เสียและที่สำคัญให้วัดไฟที่ C 529 ซึ่งเป็นไฟ Vref_Rx มาจาก COBBA ผ่าน R 507 ได้ไฟประมาณ 1.2 V โดยใช้มิเตอร์ ถ้าวัดที่ีั่้ี่จุดนี้ไม่ได้แสดงว่า COBBA เสีย ให้ทดลองเป่าลมร้อนย้ำ Hagar และ COBBA แล้วลองวัดใหม่ ถ้าไม่ได้ และถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยน Hagar ก่อนเปลี่ยนวัดลายวงจรจาก Hagar ไปที่ C 514 และ C 526 และ C 529 ก่อนทุกขา ก่อนที่จะวาง Hagar ตัวใหม่ |
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพื่มเติม
บทสรุปจากภาครับ : ถ้าการวัดทุกๆขั้นตอนตามด้านบนได้ตามข้อกำหนดทุกอย่างแต่ยังไม่สามารถวัดสัญญาณที่มาจากเครือข่ายได้ตาม ข้อที่ 1. ให้เช็คอุปกรณ์ในภาค Front End ซึ่งประกอบด้วย เสาอากาศ สวิทช์แอนเทนน่า ฟิลเตอร์ LNA และ บาลัน รวมทั้งลายวงจรว่าขาดหรือไม่ และอุปกรณ์อีกตัวที่พบว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณมาๆ หายๆ ก็คือ 32.768 KHz ถ้าทุกอย่างที่กล่าวถึงปกติปัญหาอาจจะเกิดจากข้อมูลหรือค่าต่างๆภายใน Hagar ซึ่งต้องทำการ Calibrate หรือปรับแต่ง และจะต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพงมากๆ อาทิเช่น RF GENERATOR และ SPECTRUM ANALYSER เข้ามาปรับแต่งร่วมกับ วินเทสล่าแต่ถ้าไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ก็คงแนะนำให้เปลี่ยน Hagar ตัวใหม่ (ถ้าจำเป็นจริงๆ) แต่ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้าย และในการปฎิบัติขั้นตอนต่างๆตามวิธีการในเว็บนี้ดูเหมือนยุ่งยาก แต่ถ้าวัดกันจริงๆและฝึกฝนบ่อยๆ ขอยืนยันครับว่าใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีก็สามารถวัดได้ครบทุกจุดตามรายละเอียดด้านบนทั้งหมด ขอให้ทุกท่านโชคดีพบปัญหาในการตรวจเช็คในข้อใดข้อหนึ่งโดยเร็ว |
Phoenix Training Mobile © Copyright 2005
Web Master : wintesla2003@yahoo.com
|
|