การใช้ PC สโคปร่วมกับ วินเทสล่า ตรวจซ่อมในภาคส่ง TX

เมื่อทำการตรวจสอบอาการต่างๆจากภาครับ (RX) เป็นที่เรียบร้อยและสรุปว่าภาครับปกติ ขั้นตอนต่อไปนี้ก็คือการวัดสัญญาณและแรงดันไฟในภาคต่างๆของภาคส่ง ซึ่งขั้นตอนในการวัดต่างๆคล้ายกับภาครับ แต่จะมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือเพิ่มคือ มิเตอร์วัดกำลังส่ง หรือ Field Strength Meter ทำหน้าที่ตรวจสอบกำลังส่งหรือการการกระจายสนามแม่เหล็กของ PA (Power Amplifier)

เริ่มขั้นตอนการวัด

1.  เช็คไฟเลี้ยงภาควิทยุ (RF) ทั้งหมดที่มาจาก CCONT ตามลำดับ แต่การจะวัดไฟทั้งหมดทุกจุดได้จะต้องใช้คำสั่งใน วินเทสล่า ในเมนู RF Controls  ตามคำสั่งด้านล่างในช่อง Channel ไม่ต้องกำหนดเลขช่องสัญญาณ ( เป็นเลขอะไรก็ได้ ) การวัดไฟที่จุดนี้เหมือนกับภาครับ (RX) ทุกประการ

 
คำสั่งนี้ใช้วัดไฟ ตามรายละเอียดด้านล่างได้ทั้งหมดทุกจุด
วัดไฟ Vrxrf (VRX) ที่ C 500 และ C 503
วัดไฟ Vsynte (VSYN2) จุดที่ 1  ที่ C 501 และ C 502
วัดไฟ Vsynte (VSYN2) จุดที่ 2 ที่ C 504
วัดไฟ Vsynte (VSYN2) ผ่าน R 533 ด้่านขวา  R 533 ที่ด้่านซ้ายวัดไฟได้เท่ากับ C 504
วัดไฟ Vref_2 ที่ C 535,536 ผ่าน R 509
วัดไฟ VCP ที่ C 234 จ่ายให้กับ ไอซี เรกกูเลท N503
วัดไฟ Vcos (VSYN 1) ที่ C 239 จ่ายให้กับ VCO ที่จุดนี้เป็นไฟที่ยังไม่ผ่าน R 202
วัดไฟ Vcos (VSYN 1) ที่ C 522 จ่ายให้กับ VCO ที่จุดนี้เป็นไฟที่ผ่าน R 202 แล้ว
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดจุดนี้ทั้งหมดแล้วไม่ได้ตามที่กำหนด  สรุปว่า CCONT เสีย แต่ก่อนจะยก CCONT ลองเป่าลมร้อนย้ำแล้ววัดไฟอีกครั้ง และถ้า CCONT เสียจริง หลังจากยก CCONT ออกแล้วให้วัดลายวงจรให้แน่ใจก่อนว่าลายทุกเส้นไม่ขาดหรือชอร์ต เมื่อวาง CCONT ตัวใหม่ และใช้งานได้แล้ว อย่าลืม Run EMC หรือ Energy Management Calibration กับวินเทสล่าด้วย !
วัดไฟ Vchp ที่ C 505 จ่ายให้กับ Hagar เป็นไฟที่มาจาก ไอซี เรกกูเลท N 503
วัดไฟ Hagar Reset ที่รูตาไก่
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดจุดนี้แล้วไม่ได้ตามที่กำหนดทั้ง 2 จุดตามรูปด้านบน สรุปว่า ถ้่าลายไม่ขาด ไอซี เรกกูเลท  N 503 เสีย แต่ถ้าวัดไฟ Hagar Reset ไม่ได้ ให้ดู R 510 และ R 516 ถ้า R ทั้ง 2 ตัวนี้ปกติ และลายวงจรจาก CPU ไป Hagar ไม่ขาด สรุปว่า CPU เสีย
Tips : หลังจากวัดโดยใช้วินเทสล่าแล้วลองออกจากวินเทสล่าแล้วทดลองวัดไฟใหม่อีกครั้งที่จุดที่เคยวัดผ่านมา จะสัังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเกือบทุกจุดไม่สามารถวัดไฟได้ตามที่กำหนด ยกเว้นไฟ VCP
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

2.  เช็คสัญญาณและแรงดันไฟจาก CPU มา HAGAR ซึ่งเป็น Bus Interface

คำสั่งนี้ใช้วัดไฟ ตามรายละเอียดด้านล่างได้ทั้งหมดทุกจุด
วัดไฟ Hagar Reset ที่รูตาไก่
วัดไฟ Hagar Enable ที่รูตาไก่
วัดสัญญาณ Hagar Clock ที่ Rคู่ 301 โดยใช้สโูคป
ที่จุดนี้เมื่อวัดโดยการใช้ PC สโคป เครื่องอาจจะดับได้ ( เพราะ CPU มีการตอบสนองความไวที่จุดนี้สูงมาก) แต่เครื่องไม่เสีย เปิดเครื่องใหม่ก็ปกติ
วัดสัญญาณ Hagar Data ที่รูตาไก่ข้าง Hagar
 
แนวทางการวิเึึคราะห์ : ถ้าวัดจุดนี้แล้วไม่ได้ตามกำหนด ถ้าลายวงจรไม่ขาด และ R 510    R 516 และ   R 301 ไม่เสีย และลายจาก CPU ไป Hagar ไม่ขาด สรุปว่า CPU เสีย
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเืติม

3. วัดไฟที่มาจากวงจร ชาร์จปั๊ม ใน Hagar ที่จ่ายให้กับ VCO ซึ่งไฟนี้มีหลายระดับในการวัดแต่ในตัวอย่างที่นำเสนอนี้จะให้วัดแรงดันไฟที่ต่ำสุดและสูงสุด โดยกำหนดคำสั่งตามรูปด้านล่าง

วัดไฟที่ C 558 ในช่อง Channel ให้ใส่เลข " 1 " แล้วคลิก Apply สังเกตเลขด้านหลัง 890.200000 MHz คือความถี่ของช่องสัญญาณ ของภาคส่ง เลขช่องสัญญาณเพิ่มมากขึ้น ความถี่ก็จะสูงขึ้นตามลำดับ
                      
วัดไฟที่ C558 ในช่อง Channel ให้ใส่เลข " 124 " แล้วคลิก Apply สังเกตเลขด้านหลัง 914.800000 MHz คือช่ิองสัญญาณของภาคส่งที่สูงที่สุด
               
Tips :  ทดลองเพิ่มช่องสัญญาณทีละช่องสังเกตความถี่จะเปลี่ยนไป และ แรงดันไฟจะเพิ่มขึ้นทีละนิด แต่ในการกำหนดช่องสัญญา๊๊ณจะกำหนดได้สูงสุดไม่เกิน 124 ช่อง ถ้าใส่เกิน วินเทสล่าจะฟ้องกรอบดังรูปด้านล่าง
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดจุดนี้แล้วไม่ได้ตามที่กำหนด ถ้าลายวงจรไม่ขาด วงจรชาร์จปั๊มใน Hagar เสีย หรือในบางครั้งถ้าวัดได้ 4 โวลท์กว่าๆ หรือ เพิ่มเลขช่องสัญญาณแล้ว แรงดันไฟไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่า Loop ในวงจรชาร์จปั๊มเสียปรับระดับไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยน Hagar แต่ถ้าวัดที่ C 558 แล้วปรับระดับได้แต่แรงดันไฟต่ำกว่าปกติ VCO เสียหรือชอร์ต
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

4. เช็คสัญญาณ TXP หรือวงจรเปิดกำลังส่งของวงจร PWC (Power Control) ที่จุด Test Point J503 โดยใช้ PC สโคป ให้สังเกตรูปคลื่นและสัญญาณเสียง 

Test Soundทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ)

Tips : ที่จุดวัด TXP ขณะที่วัดให้ลองเปลึ่ยนคำสั่งจาก TX เป็น RX ที่กรอบ Active Unit โดยที่ไม่ต้องยกสายวัดออกจากจุด TXP แล้วสังเกตรูปคลื่นและสัญญาณเสียง อย่าลืม ! ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งใดๆให้คลิก Apply ทุกครั้ง

แนวทางการวิเคราะห์ : ที่จุดวัด TXP ถ้าวัดแล้วไม่มีการตอบสนองของรูปคลื่นและสัญญาณเสียจาก PC สโคป สรุปว่า CPU เสีย ลองเป่าลมร้อนย้ำที่ CPU หรือถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยน CPU ก่อนที่จะเปลี่ยน CPU ตัวใหม่ให้วัดลายจาก CPU ไป Hagar ก่อน

ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

5. เช็คสัญญาณ TXC หรือวงจรกำหนดระดับแรงดันไฟให้กับวงจร PWC ใน Hagar เพื่อจ่ายให้กับ PA ขยายกำลังส่งในระดับที่แตกต่างกัน โดยใช้ PC สโคป ให้สังเกตรูปคลื่นและสัญญาณเสียง

เข้้าเมนู Tuning แล้วเลือก TX Power..
ในกรอบ Start Tuning เลือก EEPROM Values
ให้ใช้สายโพรบของ PC สโคปวัดที่ TXC บริเวณรูตาำำไก่ แล้วใช้ปุ่มเครื่องหมาย " ลูกศรขึ้น " บนคีย์บอร์ด กดเพิ่มระดับกำลัังส่งไปเรื่อยๆจนถึงระดับ 5 แล้วสังเกตรูปคลื่น สัญญาณเสียงจาก PC สโคป และการกินกระแสของ PA ที่ เพาเวอร์ซัพพลายหรือชุดจ่ายไฟ
TXC ที่ระดับต่ำสุด
TXC ที่ระดับสูงสุด
Test Sound ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ)

Tips :  ขณะที่วัด TXP ให้ระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งคือการปรับระดับกำลังส่งของ PA โดยเฉพาะ ตั้งแต่ Level 9 8 7 6 5 ขึ้นไปในการปรับระดับอย่างค้างที่ตำแหน่งนี้นานๆ เพราะเป็นช่วงที่ PA กินกระแสสูงที่สุด อาจจะทำให้ PA เสียในขณะที่กำลังทดสอบได้ เทคนิคที่ดีที่สุดก็ตคือเมื่อวัดจนถึงระดับ 5 แล้วให้กดลูกศรขึ้นไปอีกแถบน้ำเงินของระดับกำลังส่งจะวนกลับมาที่ตำแหน่ง TEST ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่อันตรายต่อ PA และขณะที่กำลังปรับระดับกำลังส่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ให้สังเกตการกินกระแสของ ชุดจ่ายไฟหรือเพาเวอร์ซัพพลายด้วยว่ามีการเพิ่มขึ้นตามการปรับระดับกำลัังส่งหรือไม่ และที่สำคัญก็คือ ให้สังเกตเข็มของ มิเตอร์วัดกำลังส่ง หรือ Field Strength Meter ว่ามีการกระดิกตามระดับกำลังส่งด้วยหรือไม่ ถ้ามีการกระดิกแสดงว่า COBBA  HAGAR และ PA ในส่วนของการปรับระดับกำลังส่งทำงานปกติ  สรุปว่าในการวัด TXC เราจะต้องสังเกต รูปคลื่น สัญญาณเสียง การกินกระแสของเพาเวอร์ซัพพลายและ มิเตอร์วัดกำลังส่ง

แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดแล้วไม่มีการตอบสนองของรูปคลื่นและสัญญาณเสียง ที่จุดวัด TXC ให้วัดที่ R 518 ทั้ง 2 ขา ว่ามีการตอบสนองรูปคลื่นและสัญญาณเสียงหรือไม่ และการตอบสนองของสัญญาณเสียงจะต้องดังเพิ่มไปเรื่อยๆ ตามลำดับกำลัังส่งถ้าไม่มีการตอบสนอง ก็สรุปว่า COBBA  เสีย ทดลองเป่าลมร้อนย้ำที่ COBBA หรือถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยน COBBA แต่ก่อนที่จะเปลี่ยน COBBA ตัวใหม่ให้เช็คลายจาก COBBA ไป TXC ใน HAGAR ที่ผ่าน R518 และ C542 ด้วย

ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

6. เช็คสัญญาณ VPCTRL_G ที่ R 532 และที่ขา 10 ซึ่งเป็นไฟที่ควบคุมระดับกำลังส่งของ PA ในวงจร PWC ที่ออกมาจาก Hagar โดยใช้ PC สโคป ให้สังเกตรูปคลื่น

ใช้เมนูและกำหนดคำสั่งเดียวกันกับข้อ 5 หรือหลังจากที่วัดข้อที่ 5 จบแล้วยังไม่ต้องออกจากเมนู ให้วัดข้อนี้ต่อเนื่องไปเลย

Test Sound ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ)
Tips :  ในการวัด VPCTRL_G เป็นการวัดไฟที่สำหรับเพิ่มหรือลดเพื่อปรับระดับกำลังส่งของ PA ในภาค GSM ซึ่งไฟที่ออกมาจากวงจร PWC ใน Hagar จะผ่าน R 532 ก่อนที่จะเข้าไป PA ที่ขา 10 ดังนั้นให้ใช้ PC สโคปวัดที่ R 532 ทั้ง 2 ขา และที่ขา 10 ด้วย ข้อควรระวัง! ตรงจุดวัดทั้ง 2 จุดจะมี ซิงค์หรือโครงอยู่ซึ่งเป็น กราวน์หรือไฟลบ และโดยเฉพาะ PA สีขาวยี่ห้อ  HITACHI ซึ่งตัวถังเป็นกราวน์เช่นเดียวกัน ให้ระวังอย่าให้เข็มวัดหรือโพรบของ PC สโคปไปสัมผัสอาจทำให้ เครื่องดับและวินเทสล่า Error ได้ ไม่ต้องกังวล เครื่องโทรศัพท์ไม่เสียเพียงแต่เสียเวลา และต้องเข้า วินเทสล่าใหม่อีกครั้ง  และในการวัดทั้ง 2 จุึดนี้ การกำหนดคำสั่งเหมือนกับข้อที่ 5 ทุกอย่าง เพียงแต่รูปคลื่นจะแตกต่างกันเดียวและสัญญาณเสียงจะแคบกว่า และอย่าลืม ! สังเกตการกินกระแสของเพาเวอร์ซัพพลายหรือชุดจ่ายไฟ และ มิเตอร์วัดกำลังส่ง หรือ Field Strength Meter

แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดแล้วไม่มีการตอบสนองของรูปคลื่นและสัญญาณเสียงที่ R 532 สรุปว่าวงจร PWC ใน Hagar เสีย แึต่ถ้าวัดที่ R 532 ทั้ง 2 ขา มีการตอบสนองรูปคลื่นและสัญญาณเสียง แต่ที่ ขา  10 ของ PA  ไม่มีการตอบสนองของรูปคลื่นและสัญญาณเสียง สรุปว่าลายวงจรระหว่าง  R 532  ไป ขา 10 ของ PA ขาด ให้ทดลองเป่าลมร้อนย้ำที่ Hagar และถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยน Hagar  ให้วัดลายจาก Hagar ไป R 532 ด้วย

ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

7. เช็คสัญญาณ TX I และ TX Q จาก COBBA ที่ผ่าน R 541 และ R 548 บริเวณรูตาไก่ ให้สังเกตรูปคลื่น

ใช้เมนูและกำหนดคำสั่งเดียวกันกับข้อ 6 หรือหลังจากที่วัดข้อที่ 6 จบแล้วยังไม่ต้องออกจากเมนูให้วัดข้อนี้ต่อเนื่องไปเลย
วัดจาก C 578,C 582 ด้านซ้าย
วัดจาก C 578,C 582 ด้านขวา
Tips : ในการวัด TX I และ TX Q ให้ระมัดระวังเรื่องโครงเหล็กหรือซิงค์ให้ดีเพราะรูตาำไก่อยู่้ใกล้กับโครงเหล็กเป็นอย่างมาก โอกาสที่ปลายของโำพรบจะชอร์ตกับโครงเหล็กมีสูงมาก แนะนำให้วัดที่บริเวณ C 578 และ C 572 เนื่องจากอยู่ีห่างจากโครงเหล็กพอสมควรและที่สำคัญถ้าวัดที่จุดนี้ได้เท่ากับว่าได้ตรวจสอบ R 541 และ R 548 ได้ด้วยว่าสัญญาณ IQ ผ่าน R 2 ตัวนี้ได้ปกติ และขณะที่ทำการปรับระดับกำลังส่งขึ้นไปเรื่อย ให้สังเกต รูปคลื่นให้ดี      เพราะัการวััดที่ C 578 และ C582 ที่ด้านซ้ายปลายสัญญาณของรูปคลื่นจะืิทิ่มลงเรื่อยๆ เมื่อเพิ่มระดับกำลังส่ง ส่วนการวัดที่ C 578 และ C 582 ด้่านขวาให้สังเกตปลายสัญญาณจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเพิ่มระดับกำลังส่ง แต่ที่สำคัญ ! เมื่อเพิ่มระดับกำลังส่งไปเรื่อยในระดับที่สูงสุด (Level 5 )ให้รีบลดระดับลงเพราะ PA จะกินกระแสสูงที่สุดอาจทำให้ PA เสียได้ขณะที่ทำการทดสอบ
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดแล้วไม่มีการตอบสนองของรูปคลื่น ทั้งก่อนผ่านและหลังผ่าน R 541 และ R 548 สรุปว่า C0BBA เสีย แต่ถ้าวัดก่อนผ่าน R 541 และ R 548 รูปคลื่นวัดได้ปกติแต่หลังผ่าน R 541 และ R 548 รูปคลื่่นผิดปกติ สรุปว่า R คู่ ทั้่ง 2 ตัวนี้ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหาหรือมีปัญหาทั้ง 2 ตัว ให้ลองเป่าย้ำ COBBA ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยน COBBA ตัวใหม่ก่อนวางให้วัดลายวงจรจาก COBBA ไป R 541 และ R 548
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

8. เช็คสัญญาณไฟเลี้ยง Balun T 504 ทั้ง 2 ขา โดยใช้ PC สโคป

เข้า เมนู RF Controls  ตามคำสั่งด้านล่างในช่อง Channel ไม่ต้องกำหนดเลขช่องสัญญาณ ( เป็นเลขอะไรก็ได้ )
Test Sound ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ)

แนวทางการวิเคราำะห์ : ถ้าวัดแล้วไม่มีการตอบสนองของรูปคลื่นและสัญญาณเสียง ให้เช็คไฟ VB ที่ ทรานซิสเตอร์ V 200 ที่ขา E จะต้องได้เท่ากับแรงดันไฟของแบตเตอรี่ ประมาณ 3.6 - 3.8 V (ขึ้นอยู่กับการตั้งระดับแรงดันไฟของชุดจ่ีายไฟ)ถ้าไม่มีไฟมาแสดงว่าลายวงจรไฟ VB ขาด และวัดไฟที่ ขา B จาก CCcont จะได้ไฟประมาณ 2 V.ถ้าไม่มี ไฟ ลายไม่ขาดก็แสดงว่า CCont เสีย และวัดสัญญาณเสียงโดยใช้ PC สโคปที่ ขาทั้ง 2 ข้างของ Balun T 504 ถ้าไม่มี สัญญาณเสียง สรุปว่ถ้าลายไม่ขาดก็แสดงว่า V 200  เสีย

ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

9. เช็คสัญญาณไฟจาก Hagar ที่จ่ายให้กับ วงจร TX Buffer หรือวงจรขยาย GSM  2 วัตต์ โดยใช้ PC สโคป

เข้า เมนู RF Controls  ตามคำสั่งด้านล่างในช่อง Channel ไม่ต้องกำหนดเลขช่องสัญญาณ ( เป็นเลขอะไรก็ได้ )
Test Sound  ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ)

Tips : ในการวัดวงจรขยาย GSM  2 วัตต์ หรือ TX Buffer เทคนิคที่จะใช้วัดก็คือใช้ PC สโคปวัดไปที่อุปกรณ์ตัวสุดท้ายของภาคนี้เลย คือวัดที่ ขาของ ทรานซิสเตอร์ ทั้ง  2 ตัวคือ V 601 กับ V 602 ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้ทำหน้าที่ต่างกันคือ V602 ทำหน้าที่เป็นสวิทชิ่งหรือเชื่อมต่อแรงดันไฟจาก Hagar ส่วน V 601 ทำหน้าที่เป็นทรานซิสเตอร์ขยายสัญญาณโดยมีไฟเลี้ยงวงจรจาก Hagar ผ่าน สวิทชิ่งทรานซิสเตอร์ V 602 ดังนั้นจุดที่จะวัดง่ายที่สุดคือที่ขาทั้ง 3 ขาของ  V602 และทั้ง 2 ขาของ V601 ส่วนอีกขาของ V601 ไม่สามารถวัดได้เพราะเป็น กราวน์ หรือ ไฟลบ และขณะที่วัดจะสังเกตว่าแต่ละขาของการวัดจะมีระดับเสียง ที่ไม่เืท่ากัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการวัดที่จุดนี้ และขณะที่วัดจุดต่างๆ ลองเลือกไปที่ RX ใน Active Unit แล้วสังเกตว่าสัญญาณเสียงและรูปคลื่นหายไป นั่นเป็นเพราะว่า วินเทสล่าจะแยกการทดสอบระหว่างภาครับและส่งออกจากกันโดยเด็ดขาด ทำให้เปรียบเทียบการวัดแต่ละภาคได้สะดวกง่ายขึ้น

แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดที่จุดนี้แล้วไม่มีการตอบสนองของรูปคลื่นและสัญญาณเสียง ให้ไล่ลายวงจรตั้งแต่ Hagar R 605,606  L 600 และ R 603 แต่ถ้าเช็คทั้งหมดแล้วอุปกรณ์ทุกตัวปกติ แสดงว่า Hagar เสีย ทดลองเป่าลมร้ัอนย้ำแล้ววัดใหม่ แต่ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยน Hagar ตัวใหม่ก่อนที่จะวางให้วัดลายวงจรจาก Hagar ที่ขา A6 กับ R 605,606 ด้วย
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

10. เช็คสัญญาณไฟจาก Hagar ไป วงจร Detect และจากวงจร Detect ไป Hagar โดยใช้ PC สโคป

เข้า เมนู RF Controls  ตามคำสั่งด้านล่างในช่อง Channel ไม่ต้องกำหนดเลขช่องสัญญาณ ( เป็นเลขอะไรก็ได้ )
Test Sound   ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ)
แนวทางการวิเคราำะห์ : ถ้าวัดที่จุดนี้ไม่ได้ให้เช็คไดโอดคู่้ V503  ถ้าไดโอดปกติให้เช็ค R 538,556 ถ้า R ปกติสรุปว่าเป็นที่ Hagar ทดลองเป่าลมร้ัอนย้ำแล้ววัดใหม่ แต่ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยน Hagar ตัวใหม่ก่อนที่จะวางให้วัดลายวงจรจาก Hagar ที่ขา C7,B3,B4 กับ R 538,556 ด้วย
ดูรา่ยละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

11. เช็คสัญญาณไฟจาก Hagar ไป สวิทช์แอนเทนน่า โดยใช้ PC สโคป

เข้า เมนู RF Controls  ตามคำสั่งด้านล่างในช่อง Channel ไม่ต้องกำหนดเลขช่องสัญญาณ ( เป็นเลขอะไรก็ได้ )

Test Sound ทดลองฟังเสียง (กรุณาฟังให้จบ)
Tips : ในการวัดสวิทช์แอนเทนน่ากับ PC สโคป จุดที่วัดง่ายและสะดวกที่สุดก็ึคือ ที่ L 509 และเทคนิคการวัด L หรือ คอยล์ก็คือ จะต้องวัดที่ขาทั้ง 2 ข้างของ L 509 สัญญาณเสียงที่วัดได้ที่ขาทั้ง 2 ข้างจะต้องได้ยินเท่าๆกัน แตกต่างจากการวัด R หรือรีซิสเตอร์ จะได้ยินสัญญาณเสียงแต่ละขาไม่เท่ากัน เพราะรีซิสเตอร์เป็นตัวต้านทาน เมื่อกระแสไหลผ่านตัวต้านทานกระแสก็จะลดลงระดับหนึ่ง หรือเมื่อสัญญาณเสียงผ่านความต้านทานก็จะทำให้สัญญา๊ณเสียงจากกาีรวัดอีกด้านหนึ่งลดลง ส่วน L จะยอมให้กระแสไฟ หรือ สัญญาณไหลผ่านได้เท่ากันดังนั้นการวัดกระแสไฟหรือสัญญาณเสียงของ L ทั้ง 2 ข้างจะต้องดังเท่ากันเสมอ  และถ้าวัดที่จุดนี้แล้วได้ยินต่อเนื่อง ลองเลือกไปที่ RX ใน Active Unit แล้วสังเกตว่าสัญญาณเสียงและรูปคลื่นหายไป นั่นเป็นเพราะว่า วินเทสล่าจะแยกการทดสอบระหว่างภาครับและส่งออกจากกันโดยเด็ดขาด ทำให้เปรียบเทียบการวัดแต่ละภาคได้สะดวกง่ายขึ้น
แนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดที่จุดนี้แล้วไม่มีการตอบสนองของรูปคลื่นหรือสัญญาณเสียง ให้เช็คตั้งแต่ R 524 และั L 506 ถ้าเช็คแล้วความต้านทานของ R 524 ค่าปกติ และ L 506 ไม่ขาด สรุปว่าเป็น Hagar ทดลองเป่าลมร้ัอนย้ำแล้ววัดใหม่ แต่ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยน Hagar ตัวใหม่ก่อนที่จะวางให้วัดลายวงจรจาก Hagar ที่ขา D4 กับ R 524 ด้วย และอีกจุดที่ C 579 ถ้าวัดที่จุดนี้แล้วไม่มีการตอบสนองของรูปคลื่นหรือสัญญาณเสียง สรุปว่า สวิทช์แอนเทนน่าเสีย
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

12. เช็คไฟ VBATT จาก แบตเตอรี่ที่จ่ายให้กับ PA โดยตรง โดยใช้มิเตอร์

แีนวทางการวิเคราะห์ : ถ้าวัดไฟที่จุดนี้ไม่ได้เท่ากับแหล่งจ่ายไฟ โดยปกติจะตั้งอยู่ที่ 3.6 - 3.8 V อาการที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็คือ สัญญาณมาแว็บเดียวแล้ววูบหายไป ให้ต่อลายจาก VBATT ไปยัง C 570 และ 570 แล้วลองวัดไฟดูใหม่อีกครั้ง
ดูรายละเอียดและลายวงจรจากหัวข้อนี้เพิ่มเติม

 

บทสรุปจากภาคส่ง : ถ้าการวัดทุกๆขั้นตอนตามด้านบนได้ตามข้อกำหนดทุกอย่างแต่ยังไม่สามารถวัดสัญญาณที่มาจากเครือข่ายได้ให้เช็คอุปกรณ์ในภาค Front End ซึ่งประกอบด้วย เสาอากาศ สวิทช์แอนเทนน่า ฟิลเตอร์ LNA และ บาลัน รวมทั้งลายวงจรว่าขาดหรือไม่ และอุปกรณ์อีกตัวที่พบว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณมาๆ หายๆ ก็คือ 32.768 KHz ถ้าทุกอย่างที่กล่าวถึงปกติปัญหาอาจจะเกิดจากข้อมูลหรือค่าต่างๆภายใน Hagar ซึ่งต้องทำการ Calibrate หรือปรับแต่ง และจะต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพงมากๆ อาทิเช่น RF GENERATOR และ SPECTRUM ANALYSER เข้ามาปรับแต่งร่วมกับ วินเทสล่าแต่ถ้าไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ก็คงแนะนำให้เปลี่ยน Hagar ตัวใหม่ (ถ้าจำเป็นจริงๆ) แต่ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้าย และในการปฎิบัติขั้นตอนต่างๆตามวิธีการในเว็บนี้ดูเหมือนยุ่งยาก แต่ถ้าวัดกันจริงๆและฝึกฝนบ่อยๆ ขอยืนยันครับว่าใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีก็สามารถวัดได้ครบทุกจุดตามรายละเอียดด้านบนทั้งหมด ขอให้ทุกท่านโชคดีพบปัญหาในการตรวจเช็คในข้อใดข้อหนึ่งโดยเร็ว 

 

 

 

Phoenix Training Mobile © Copyright 2005

Web Master :    wintesla2003@yahoo.com